Main navigation
สัมมัตตะ ๑๐
Share:

(๑) สัมมัตตะ (ความเป็นชอบ) ๑๐ ประการนี้

๑๐ ประการเป็นไฉน คือ

สัมมาทิฐิ ๑
สัมมาสังกัปปะ ๑
สัมมาวาจา ๑
สัมมากัมมันตะ ๑
สัมมาอาชีวะ ๑
สัมมาวายามะ ๑
สัมมาสติ ๑
สัมมาสมาธิ ๑
สัมมาญาณะ ๑
สัมมาวิมุติ ๑

(๒) มิจฉัตตะ (ความเป็นผิด) ๑๐ ประการนี้

๑๐ ประการเป็นไฉน คือ

มิจฉาทิฐิ ๑
มิจฉาสังกัปปะ ๑
มิจฉาวาจา ๑
มิจฉากัมมันตะ ๑
มิจฉาอาชีวะ ๑
มิจฉาวายามะ ๑
มิจฉาสติ ๑
มิจฉาสมาธิ ๑
มิจฉาญาณะ ๑
มิจฉาวิมุติ ๑

(๓) ธรรม ๑๐ ประการนี้ คือ

สัมมาทิฐิ สัมมาสังกัปปะ สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ สัมมาวายามะ สัมมาสติ สัมมาสมาธิ สัมมาญาณะ สัมมาวิมุติ

อันบุคคลเจริญแล้วทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย

(๔) เป็นธรรมบริสุทธิ์ผุดผ่อง เว้นจากสุคตวินัยแล้ว ย่อมไม่มี

(๕) เป็นธรรมมีผลมาก มีอานิสงส์มาก เว้นจากสุคตวินัยแล้ว ย่อมไม่มี

(๖) เป็นธรรมมีการกำจัด ราคะเป็นที่สุด มีการกำจัดโทสะเป็นที่สุด มีการกำจัดโมหะเป็นที่สุด เว้นจากสุคตวินัยแล้ว ย่อมไม่มี

(๗) ย่อมเป็นไปเพื่อความเบื่อหน่ายโดยส่วนเดียว เพื่อความคลายกำหนัด เพื่อความดับ เพื่อความสงบ เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อตรัสรู้ เพื่อนิพพาน เว้นจากสุคตวินัยแล้ว ย่อมไม่มี


ธรรมของพระอเสขะ

(๘) ธรรมที่เป็นของพระอเสขะมี ๑๐ ประการนี้ คือ

ความเห็นชอบอันเป็นอเสขะ ๑
ความดำริชอบอันเป็นอเสขะ ๑
การเจรจาชอบอันเป็นอเสขะ ๑
การงานชอบอันเป็นอเสขะ ๑
การเลี้ยงชีพชอบอันเป็นอเสขะ ๑
ความพยายามชอบอันเป็นอเสขะ ๑
การระลึกชอบอันเป็นอเสขะ ๑
ความตั้งใจชอบอันเป็นอเสขะ ๑
ความรู้ชอบอันเป็นอเสขะ ๑
ความหลุดพ้นชอบอันเป็นอเสขะ ๑


เหตุให้เป็นอเสขะ

(๙) ที่เรียกว่า อเสขะ ๆ ดังนี้ ภิกษุเป็น อเสขะด้วยเหตุเพียงเท่าไร

ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ประกอบด้วยความเห็นชอบอันเป็นอเสขะ

ประกอบด้วยความดำริชอบอันเป็นอเสขะ

ประกอบด้วยการเจรจาชอบอันเป็นอเสขะ

ประกอบด้วยการงานชอบอันเป็นอเสขะ

ประกอบด้วยการเลี้ยงชีพชอบอันเป็นอเสขะ

ประกอบด้วยความพยายามชอบอันเป็นอเสขะ

ประกอบด้วยการระลึกชอบอันเป็นอเสขะ

ประกอบด้วยความตั้งใจชอบอันเป็นอเสขะ

ประกอบด้วยความรู้ชอบอันเป็นอเสขะ

ประกอบด้วยความหลุดพ้นชอบอันเป็นอเสขะ

ภิกษุย่อมเป็นอเสขะ ด้วยประการอย่างนี้


สิ่งที่ดี-สิ่งที่ไม่ดี

สัมมาทิฐิ ความเห็นชอบ สัมมาสังกัปปะ ความดำริชอบ สัมมาวาจา เจรจาชอบ สัมมากัมมันตะ การงานชอบ สัมมาอาชีวะ เลี้ยงชีพชอบ สัมมาวายามะ ความเพียรชอบ สัมมาสติ ระลึกชอบ สัมมาสมาธิ ตั้งใจชอบ สัมมาญาณะ ความรู้ชอบ สัมมาวิมุติ ความหลุดพ้นชอบ

(๑๐) นี้เรียกว่าสิ่งที่ดี
(๑๑) นี้เรียกว่ากุศลธรรม
(๑๒) นี้เรียกว่าสัทธรรม
(๑๓) นี้เรียกว่าสัปปุริสธรรม
(๑๔) นี้เรียกว่าธรรมที่ควรให้เกิดขึ้น
(๑๕) นี้เรียกว่าธรรมที่ควรเสพ
(๑๖) นี้เรียกว่าธรรมที่ควรให้เจริญ
(๑๗) นี้เรียกว่าธรรมที่ควรทำให้มาก
(๑๘) นี้เรียกว่าธรรมที่ควรระลึก
(๑๙) นี้เรียกว่าธรรมที่ควรทำให้แจ้ง
(๒๐) นี้เรียกว่าธรรมที่เป็นอริยมรรค
(๒๑) นี้เรียกว่าธรรมอันไม่เป็นที่ตั้งแห่งความเร่าร้อน
(๒๒) นี้เรียกว่าธรรมอันไม่เป็นไปเพื่อสั่งสมกิเลส
(๒๓) นี้เรียกว่าธรรมมีสุขเป็นกำไร
(๒๔) นี้เรียกว่าธรรมมีสุขเป็นวิบาก
(๒๕) นี้เรียกว่าธรรมที่ไม่มีโทษ
(๒๖) นี้เรียกว่าประโยชน์
(๒๗) นี้เรียกว่าธรรม
(๒๘) นี้เรียกว่าธรรมที่ไม่มีอาสวะ


มิจฉาทิฐิ ความเห็นผิด มิจฉาสังกัปปะ ความดำริผิด มิจฉาวาจา เจรจาผิด มิจฉากัมมันตะ การงานผิด มิจฉาอาชีวะ เลี้ยงชีพผิด มิจฉาวายามะ ความพยายามผิด มิจฉาสติ ระลึกผิด มิจฉาสมาธิ ตั้งใจผิด มิจฉาญาณะ รู้ผิด มิจฉาวิมุติ ความหลุดพ้นผิด

(๑๐) นี้เรียกว่าสิ่งที่ไม่ดี
(๑๑) นี้เรียกว่าอกุศลธรรม
(๑๒) นี้เรียกว่าอสัทธรรม
(๑๓) นี้เรียกว่าอสัปปุริสธรรม
(๑๔) นี้เรียกว่าธรรมที่ไม่ควรให้เกิดขึ้น
(๑๕) นี้เรียกว่าธรรมที่ไม่ควรเสพ
(๑๖) นี้เรียกว่าธรรมที่ไม่ควรให้เจริญ
(๑๗) นี้เรียกว่าธรรมที่ไม่ควรทำให้มาก
(๑๘) นี้เรียกว่าธรรมที่ไม่ควรระลึก
(๑๙) นี้เรียกว่าธรรมที่ไม่ควรทำให้แจ้ง
(๒๐) นี้เรียกว่าธรรมที่มิใช่อริยมรรค
(๒๑) นี้เรียกว่าธรรมอันเป็นที่ตั้งแห่งความเร่าร้อน
(๒๒) นี้เรียกว่าธรรมอันเป็นไปเพื่อสั่งสมกิเลส
(๒๓) นี้เรียกว่าธรรมมีทุกข์เป็นกำไร
(๒๔) นี้เรียกว่าธรรมมีทุกข์เป็นวิบาก
(๒๕) นี้เรียกว่าธรรมที่มีโทษ
(๒๖) นี้เรียกว่าสิ่งไม่เป็นประโยชน์
(๒๗) นี้เรียกว่าอธรรม
(๒๘) นี้เรียกว่าธรรมที่มีอาสวะ


สิ่งที่เป็นธรรมและเป็นประโยชน์

(๒๙) สิ่งที่ไม่เป็นธรรมและสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์บุคคลควรทราบ สิ่งที่เป็นธรรมและสิ่งที่เป็นประโยชน์ บุคคลก็ควรทราบ ครั้นทราบสิ่งที่ไม่เป็นธรรม สิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์ สิ่งที่เป็นธรรมและสิ่งที่เป็นประโยชน์แล้ว พึงปฏิบัติตามสิ่งที่เป็นธรรม ตามสิ่งที่เป็นประโยชน์

ก็สิ่งที่ไม่เป็นธรรมและสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์เป็นไฉน คือ

ความเห็นผิด
ความดำริผิด
การเจรจาผิด
การงานผิด
การเลี้ยงชีพผิด
ความพยายามผิด
ความระลึกผิด
ความตั้งใจผิด
ความรู้ผิด
ความหลุดพ้นผิด

นี้เรียกว่าสิ่งที่ไม่เป็นธรรมและสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์

ก็สิ่งที่เป็นธรรมและสิ่งที่เป็นประโยชน์เป็นไฉน คือ

ความเห็นชอบ
ความดำริชอบ
การเจรจาชอบ
การงานชอบ
การเลี้ยงชีพชอบ
ความพยายามชอบ
ความระลึกชอบ
ความตั้งใจชอบ
ความรู้ชอบ
ความหลุดพ้นชอบ

นี้เรียกว่าสิ่งที่เป็นธรรมและสิ่งที่เป็นประโยชน์

ความเห็นผิด เป็นสิ่งที่ไม่เป็นธรรม
ความเห็นชอบ เป็นสิ่งที่เป็นธรรม

อกุศลธรรมอันลามกมิใช่น้อย ที่เกิดขึ้นเพราะความเห็นผิดเป็นปัจจัย เป็นสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์

ส่วนกุศลธรรมมิใช่น้อย ย่อมถึงความเจริญบริบูรณ์เพราะความเห็นชอบเป็นปัจจัย เป็นสิ่งที่เป็นประโยชน์

ความดำริผิด เป็นสิ่งที่ไม่เป็นธรรม
ความดำริชอบ เป็นสิ่งที่เป็นธรรม

อกุศลธรรมอันลามกมิใช่น้อย ที่เกิดขึ้นเพราะความดำริผิดเป็นปัจจัย เป็นสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์

ส่วนกุศลธรรมมิใช่น้อย ย่อมถึงความเจริญบริบูรณ์เพราะความดำริชอบเป็นปัจจัย เป็นสิ่งที่เป็นประโยชน์

การเจรจาผิด เป็นสิ่งที่ไม่เป็นธรรม
การเจรจาชอบ เป็นสิ่งที่เป็นธรรม

อกุศลธรรมอันลามกมิใช่น้อย ที่เกิดขึ้นเพราะการเจรจาผิดเป็นปัจจัย เป็นสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์

ส่วนกุศลธรรมมิใช่น้อย ย่อมถึงความเจริญบริบูรณ์เพราะการเจรจาชอบเป็นปัจจัย เป็นสิ่งที่เป็นประโยชน์

การงานผิด เป็นสิ่งที่ไม่เป็นธรรม
การงานชอบ เป็นสิ่งที่เป็นธรรม

อกุศลธรรมอันลามกมิใช่น้อยที่เกิดขึ้นเพราะการงานผิดเป็นปัจจัยเป็นสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์

ส่วนกุศลธรรมมิใช่น้อย ย่อมถึงความเจริญบริบูรณ์เพราะการงานชอบเป็นปัจจัย เป็นสิ่งที่เป็นประโยชน์

การเลี้ยงชีพผิด เป็นสิ่งที่ไม่เป็นธรรม
การเลี้ยงชีพชอบ เป็นสิ่งที่เป็นธรรม

อกุศลธรรมอันลามกมิใช่น้อย ที่เกิดขึ้นเพราะการเลี้ยงชีพผิดเป็นปัจจัย เป็นสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์

ส่วนกุศลธรรมมิใช่น้อย ย่อมถึงความเจริญบริบูรณ์ เพราะการเลี้ยงชีพชอบเป็นปัจจัย เป็นสิ่งที่เป็นประโยชน์

ความพยายามผิด เป็นสิ่งที่ไม่เป็นธรรม
ความพยายามชอบ เป็นสิ่งที่เป็นธรรม

อกุศลธรรมอันลามกมิใช่น้อย ที่เกิดขึ้นเพราะความผิดเป็นปัจจัย เป็นสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์

ส่วนกุศลธรรมมิใช่น้อย ย่อมถึงความเจริญบริบูรณ์เพราะความพยายามชอบเป็นปัจจัย เป็นสิ่งที่เป็นประโยชน์

ความระลึกผิด เป็นสิ่งที่ไม่เป็นธรรม
ความระลึกชอบ เป็นสิ่งที่เป็นธรรม

อกุศลธรรมอันลามกมิใช่น้อย ที่เกิดขึ้นเพราะความระลึกผิดเป็นปัจจัย เป็นสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์

ส่วนกุศลธรรมมิใช่น้อย ย่อมถึงความเจริญบริบูรณ์เพราะความระลึกชอบเป็นปัจจัย เป็นสิ่งที่เป็นประโยชน์

ความตั้งใจผิด เป็นสิ่งที่ไม่เป็นธรรม
ความตั้งใจชอบ เป็นสิ่งที่เป็นธรรม

อกุศลธรรมอันลามกมิใช่น้อย ที่เกิดขึ้นเพราะความตั้งใจผิดเป็นปัจจัย เป็นสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์

ส่วนกุศลธรรมมิใช่น้อย ย่อมถึงความเจริญบริบูรณ์เพราะความตั้งใจชอบเป็นปัจจัย เป็นสิ่งที่เป็นประโยชน์

ความรู้ผิด เป็นสิ่งที่ไม่เป็นธรรม
ความรู้ชอบ เป็นสิ่งที่เป็นธรรม

อกุศลธรรมอันลามกมิใช่น้อย ที่เกิดขึ้นเพราะความรู้ผิดเป็นปัจจัยเป็นสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์

ส่วนกุศลธรรมมิใช่น้อย ย่อมถึงความเจริญบริบูรณ์เพราะความรู้ชอบเป็นปัจจัย เป็นสิ่งที่เป็นประโยชน์

ความพ้นผิด เป็นสิ่งที่ไม่เป็นธรรม
ความพ้นชอบ เป็นสิ่งที่เป็นธรรม

อกุศลธรรมอันลามกมิใช่น้อย ที่เกิดขึ้นเพราะความหลุดพ้นผิดเป็นปัจจัย เป็นสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์

ส่วนกุศลธรรมมิใช่น้อย ย่อมถึงความเจริญบริบูรณ์ เพราะความพ้นชอบเป็นปัจจัย เป็นสิ่งที่เป็นประโยชน์

ครั้นทราบสิ่งที่ไม่เป็นธรรม และสิ่งที่เป็นธรรม สิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์และสิ่งที่เป็นประโยชน์แล้ว พึงปฏิบัติตามสิ่งที่เป็นธรรมและสิ่งที่เป็นประโยชน์เถิด คำที่เรากล่าวดังนี้ เรากล่าวแล้วเพราะอาศัยเหตุนี้


ผู้ควรเสพ-ไม่ควรเสพ

(๓๐) บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๑๐ ประการ คือ

บุคคลเป็นผู้มีความเห็นผิด ๑
มีความดำริผิด ๑
มีการเจรจาผิด ๑
มีการงานผิด ๑
มีการเลี้ยงชีพผิด ๑
มีความพยายามผิด ๑
มีความระลึกผิด ๑
มีความตั้งใจผิด ๑
มีความรู้ผิด ๑
มีความหลุดพ้นผิด ๑

บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๑๐ ประการนี้ ไม่ควรเสพ  ไม่ควรคบ ไม่ควรนั่งใกล้ ไม่ควรบูชา ไม่ควรสรรเสริญ ไม่ควรเคารพ ไม่ควรยำเกรง ไม่ควรให้ยินดี ไม่บริสุทธิ์ ครอบงำมานะไม่ได้ ไม่เจริญด้วยปัญญา ย่อมประสบสิ่งที่ไม่ใช่บุญเป็นอันมาก

บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๑๐ ประการ คือ

บุคคลเป็นผู้มีความเห็นชอบ ๑
มีความดำริชอบ ๑
มีการเจรจาชอบ ๑
มีการงานชอบ ๑
มีการเลี้ยงชีพชอบ ๑
มีความพยายามชอบ ๑
มีการระลึกชอบ ๑
มีความตั้งใจชอบ ๑
มีความรู้ชอบ ๑
มีความหลุดพ้นชอบ ๑

บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๑๐ ประการนี้ ควรเสพ ควรคบ ควรนั่งใกล้ ควรบูชา ควรสรรเสริญ ควรเคารพ ควรยำเกรง ควรให้ยินดี บริสุทธิ์ ครอบงำมานะได้ เจริญด้วยปัญญา ย่อมประสบบุญเป็นอันมาก


การล้างของพระอริยะ

(๓๑) ในทักษิณาชนบท มีธรรมเนียมการล้างกระดูกญาติผู้ตาย ในธรรมเนียมการล้างกระดูกนั้น มีข้าวบ้าง น้ำบ้างของขบเคี้ยวบ้าง ของบริโภคบ้าง เครื่องลิ้มบ้าง เครื่องดื่มบ้าง การฟ้อนบ้าง เพลงขับบ้าง การประโคมบ้าง ธรรมเนียมการล้างนั้นมีอยู่ เรามิได้กล่าวว่า ไม่มี แต่ว่าการล้างนั้นแลเป็นของเลว เป็นของชาวบ้าน เป็นของปุถุชน ไม่เป็นของอริยะ ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ ย่อมไม่เป็นไปเพื่อความเบื่อหน่าย เพื่อความคลายกำหนัด เพื่อความดับ เพื่อความสงบ เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อตรัสรู้ เพื่อนิพพาน

ก็เราจักแสดงการล้างที่เป็นของพระอริยะ ซึ่งเป็นไปเพื่อความเบื่อหน่าย เพื่อความคลายกำหนัด เพื่อความดับ เพื่อความสงบ เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อตรัสรู้ เพื่อนิพพาน โดยส่วนเดียว ที่สัตว์ทั้งหลายผู้มีความเกิดเป็นธรรมดาอาศัยแล้ว ย่อมพ้นจากความเกิด ผู้มีความแก่เป็นธรรมดา ย่อมพ้นจากความแก่ ผู้มีความตายเป็นธรรมดา ย่อมพ้นจากความตาย ผู้มีความโศก ความร่ำไร ความทุกข์ ความโทมนัสและความคับแค้นใจเป็นธรรมดา ย่อมพ้นจากความโศก ความร่ำไร ความทุกข์ ความโทมนัสและความคับแค้นใจได้

บุคคลผู้มีความเห็นชอบ ย่อมล้างความเห็นผิดได้ และสำรอกอกุศลธรรมอันลามกมิใช่น้อยที่เกิดขึ้นเพราะความเห็นผิดเป็นปัจจัย ส่วนกุศลธรรมมิใช่น้อยถึงความเจริญบริบูรณ์ เพราะความเห็นชอบเป็นปัจจัย

บุคคลผู้มีความดำริชอบ ย่อมล้างความดำริผิดได้ และสำรอกอกุศลธรรมอันลามกมิใช่น้อยที่เกิดขึ้นเพราะความดำริผิดเป็นปัจจัย ส่วนกุศลธรรมมิใช่น้อยถึงความเจริญบริบูรณ์ เพราะความดำริชอบเป็นปัจจัย

บุคคลผู้มีการเจรจาชอบ ย่อมล้างการเจรจาผิดได้...

บุคคลผู้มีการงานชอบ ย่อมล้างการงานผิดได้...

บุคคลผู้มีการเลี้ยงชีพชอบ ย่อมล้างการเลี้ยงชีพผิดได้...

บุคคลผู้มีความพยายามชอบ ย่อมล้างความพยายามผิดได้...

บุคคลผู้มีความระลึกชอบ ย่อมล้างความระลึกผิดได้...

บุคคลผู้มีความตั้งใจชอบ ย่อมล้างความตั้งใจผิดได้...

บุคคลผู้มีความรู้ชอบ ย่อมล้างความรู้ผิดได้...

บุคคลผู้มีความหลุดพ้นชอบ ย่อมล้างความหลุดพ้นผิดได้ และสำรอกอกุศลธรรมอันลามกมิใช่น้อยที่เกิดขึ้นเพราะความหลุดพ้นผิดเป็นปัจจัยได้ ส่วนกุศลธรรมมิใช่น้อย ย่อมถึงความเจริญบริบูรณ์ เพราะความหลุดพ้นชอบเป็นปัจจัย


ยาสำรอกของพระอริยะ

(๓๒) แพทย์ทั้งหลายย่อมให้ยาสำรอก เพื่อบำบัดอาพาธมีดีเป็นสมุฏฐานบ้าง เพื่อบำบัดอาพาธมีเสมหะเป็นสมุฏฐานบ้าง เพื่อบำบัดอาพาธมีลมเป็นสมุฏฐานบ้าง ยาสำรอกนั่นมีอยู่ เรามิได้กล่าวว่า ไม่มี ก็แต่ว่ายาสำรอกนี้นั้น ย่อมสำเร็จผลบ้าง ย่อมเสียผลบ้าง

ก็เราจักแสดงยาสำรอกอันเป็นของพระอริยะที่สำเร็จผลอย่างเดียว ไม่เสียผล ที่สัตว์ทั้งหลายผู้มีความเกิดเป็นธรรมดาอาศัยแล้ว ย่อมพ้นจากความเกิด ผู้มีความแก่เป็นธรรมดา ย่อมพ้นจากความแก่ ผู้มีความตายเป็นธรรมดา ย่อมพ้นจากความตาย ผู้มีความโศก ความร่ำไร ความทุกข์ ความโทมนัสและความคับแค้นใจเป็นธรรมดา ย่อมพ้นจากความโศก ความร่ำไร ความทุกข์ ความโทมนัส และความคับแค้นใจได้

บุคคลผู้มีความเห็นชอบ ย่อมสำรอกความเห็นผิดได้ และสำรอกอกุศลธรรมอันลามกมิใช่น้อยที่เกิดขึ้นเพราะความเห็นผิดเป็นปัจจัย ส่วนกุศลธรรมมิใช่น้อยถึงความเจริญบริบูรณ์ เพราะความเห็นชอบเป็นปัจจัย

บุคคลผู้มีความดำริชอบ ย่อมสำรอกความดำริผิดได้ และสำรอกอกุศลธรรมอันลามกมิใช่น้อยที่เกิดขึ้นเพราะความดำริผิดเป็นปัจจัย ส่วนกุศลธรรมมิใช่น้อยถึงความเจริญบริบูรณ์ เพราะความดำริชอบเป็นปัจจัย

บุคคลผู้มีการเจรจาชอบ ย่อมสำรอกการเจรจาผิดได้...

บุคคลผู้มีการงานชอบ ย่อมสำรอกการงานผิดได้...

บุคคลผู้มีการเลี้ยงชีพชอบ ย่อมสำรอกการเลี้ยงชีพผิดได้...

บุคคลผู้มีความพยายามชอบ ย่อมสำรอกความพยายามผิดได้...

บุคคลผู้มีความระลึกชอบ ย่อมสำรอกความระลึกผิดได้...

บุคคลผู้มีความตั้งใจชอบ ย่อมสำรอกความตั้งใจผิดได้...

บุคคลผู้มีความรู้ชอบ ย่อมสำรอกความรู้ผิดได้...

บุคคลผู้มีความหลุดพ้นชอบ ย่อมสำรอกความหลุดพ้นผิดได้ และสำรอกอกุศลธรรมอันลามกมิใช่น้อยที่เกิดขึ้นเพราะความหลุดพ้นผิดเป็นปัจจัยได้ ส่วนกุศลธรรมมิใช่น้อย ย่อมถึงความเจริญบริบูรณ์ เพราะความหลุดพ้นชอบเป็นปัจจัย


การปลงบาปของพระอริยะ

(๓๓) อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ ย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า

วิบากแห่งมิจฉาทิฐิ เป็นสิ่งที่ชั่วช้าทั้งในปัจจุบันทั้งในสัมปรายภพ อริยสาวกนั้นครั้นพิจารณาเห็นดังนี้แล้ว ย่อมละมิจฉาทิฐิ ย่อมปลงบาปจากมิจฉาทิฐิ

ย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า วิบากแห่งมิจฉาสังกัปปะ เป็นสิ่งที่ชั่วช้าทั้งในปัจจุบันทั้งทั้งในสัมปรายภพ ครั้นพิจารณาเห็นดังนี้แล้ว ย่อมละมิจฉาสังกัปปะ ย่อมปลงบาปจากมิจฉาสังกัปปะ

ย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า วิบากแห่งมิจฉาวาจา เป็นสิ่งที่ชั่วช้าทั้งในปัจจุบันทั้งในสัมปรายภพ ครั้นพิจารณาเห็นดังนี้แล้ว ย่อมละมิจฉาวาจา ย่อมปลงบาปจากมิจฉาวาจา

ย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า วิบากแห่งมิจฉากัมมันตะ เป็นสิ่งที่ชั่วช้าทั้งในปัจจุบันทั้งในสัมปรายภพ ครั้นพิจารณาเห็นดังนี้แล้ว ย่อมละมิจฉากัมมันตะ ย่อมปลงบาปจากมิจฉากัมมันตะ

ย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า วิบากแห่งมิจฉาอาชีวะ เป็นสิ่งที่ชั่วช้าทั้งในปัจจุบันทั้งในสัมปรายภพ ครั้นพิจารณาเห็นดังนี้แล้ว ย่อมละมิจฉาอาชีวะ ย่อมปลงบาปจากมิจฉาอาชีวะ

ย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า วิบากแห่งมิจฉาวายามะ เป็นสิ่งที่ชั่วช้าทั้งในปัจจุบันทั้งในสัมปรายภพ ครั้นพิจารณาเห็นดังนี้แล้ว ย่อมละมิจฉาวายามะ ย่อมปลงบาปจากมิจฉาวายามะ

ย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า วิบากแห่งมิจฉาสติเป็นสิ่งที่ชั่วช้าทั้งในปัจจุบันทั้งในสัมปรายภพ ครั้นพิจารณาเห็นดังนี้แล้ว ย่อมละมิจฉาสติ ย่อมปลงบาปจากมิจฉาสติ

ย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า วิบากแห่งมิจฉาสมาธิ เป็นสิ่งที่ชั่วช้าทั้งในปัจจุบันทั้งในสัมปรายภพ ครั้นพิจารณาเห็นดังนี้แล้ว ย่อมละมิจฉาสมาธิ ย่อมปลงบาปจากมิจฉาสมาธิ

ย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า วิบากแห่งมิจฉาญาณะ เป็นสิ่งที่ชั่วช้าทั้งในปัจจุบันทั้งในสัมปรายภพ ครั้นพิจารณาเห็นดังนี้แล้ว ย่อมละมิจฉาญาณะ ย่อมปลงบาปจากมิจฉาญาณะ

ย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า วิบากแห่งมิจฉาวิมุติ เป็นสิ่งที่ชั่วช้าทั้งในปัจจุบันทั้งในสัมปรายภพ ครั้นพิจารณาเห็นดังนี้แล้ว ย่อมละมิจฉาวิมุติ ย่อมปลงบาปจากมิจฉาวิมุติ

พิธีปลงบาปในวินัยแห่งพระอริยะ ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้


 

 

อ้างอิง:
(๑) สัมมัตตสูตร พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๒๔ ข้อที่ ๑๓๓
(๒) มิจฉัตตสูตร พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๒๔ ข้อที่ ๑๓๒
(๓) อาสวสูตร พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๒๔ ข้อที่ ๑๒๒
(๔) ปริสุทธิสูตร พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๒๔ ข้อที่ ๑๒๓
(๕) มหัปผลสูตร พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๒๔ ข้อที่ ๑๒๕
(๖) ปริโยสานสูตร พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๒๔ ข้อที่ ๑๒๖
(๗) เอกันตสูตร พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๒๔ ข้อที่ ๑๒๗
(๘) อเสขธรรมสูตร พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๒๔ ข้อที่ ๑๑๒
(๙) อเสขสูตร พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๒๔ ข้อที่ ๑๑๑
(๑๐) สาธุสูตร พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๒๔ ข้อที่ ๑๓๔
(๑๑) กุสลสูตร พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๒๔ ข้อที่ ๑๓๖
(๑๒) สัทธรรมสูตร พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๒๔ ข้อที่ ๑๔๗
(๑๓) สัปปุริสธรรมสูตร พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๒๔ ข้อที่ ๑๔๘
(๑๔) อุปปาเทตัพพธรรมสูตร พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๒๔ ข้อที่ ๑๔๙
(๑๕) อาเสวิตัพพธรรมสูตร พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๒๔ ข้อที่ ๑๕๐
(๑๖) ภาเวตัพพธรรมสูตร พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๒๔ ข้อที่ ๑๕๑
(๑๗) พหุลีกาตัพพธรรมสูตร พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๒๔ ข้อที่ ๑๕๒
(๑๘) อนุสสริตัพพธรรมสูตร พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๒๔ ข้อที่ ๑๕๓
(๑๙) สัจฉิกาตัพพธรรมสูตร พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๒๔ ข้อที่ ๑๕๔
(๒๐) อริยมรรคสูตร พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๒๔ ข้อที่ ๑๔๖
(๒๑) ตปนิยธรรมสูตร พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๒๔ ข้อที่ ๑๔๑
(๒๒) อาจยคามิธรรมสูตร พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๒๔ ข้อที่ ๑๔๒
(๒๓) ทุกขทรยธรรมสูตร พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๒๔ ข้อที่ ๑๔๓
(๒๔) ทุกขวิปากธรรมสูตร พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๒๔ ข้อที่ ๑๔๔
(๒๕) สาวัชชธรรมสูตร พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๒๔ ข้อที่ ๑๔๐
(๒๖) อรรถสูตร พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๒๔ ข้อที่ ๑๓๗
(๒๗) ธรรมสูตร พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๒๔ ข้อที่ ๑๓๘
(๒๘) อาสวธรรมสูตร พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๒๔ ข้อที่ ๑๓๙
(๒๙) อธรรมสูตรที่ ๑-๒ พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๒๔ ข้อที่ ๑๑๓-๑๑๔
(๓๐) ปุคคลวรรคที่ ๑ พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๒๔ ข้อที่ ๑๕๕
(๓๑) โธวนสูตร พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๒๔ ข้อที่ ๑๐๗
(๓๒) วมนสูตร พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๒๔ ข้อที่ ๑๐๙
(๓๓) ปัจโจโรหณีสูตรที่ ๑ พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๒๔ ข้อที่ ๑๑๙

 

 

คำต่อไป