Main navigation
สัสสตทิฐิ
Share:

(๑) สัสสตทิฏฐิ เป็นไฉน

ความเห็นว่าตนและโลกเที่ยง ดังนี้

ทิฏฐิ ความเห็นไปข้างทิฏฐิ ฯลฯ การถือโดยวิปลาส มีลักษณะเช่นว่านี้ นี้เรียกว่า สัสสตทิฏฐิ

(๒) เพราะถือมั่นอะไร เพราะยึดมั่นอะไร จึงเกิดทิฏฐิขึ้นอย่างนี้ว่า โลกเที่ยง

เมื่อรูปมีอยู่ เพราะถือมั่นรูป เพราะยึดมั่นรูป จึงเกิดทิฏฐิขึ้นอย่างนี้ว่า โลกเที่ยง

เมื่อเวทนามีอยู่ เพราะถือมั่นเวทนา เพราะยึดมั่นเวทนา จึงเกิดทิฏฐิขึ้นอย่างนี้ว่า โลกเที่ยง 

เมื่อสัญญามีอยู่ เพราะถือมั่นสัญญา เพราะยึดมั่นสัญญา จึงเกิดทิฏฐิขึ้นอย่างนี้ว่า โลกเที่ยง 

เมื่อสังขารมีอยู่ เพราะถือมั่นสังขาร เพราะยึดมั่นสังขาร จึงเกิดทิฏฐิขึ้นอย่างนี้ว่า โลกเที่ยง 

เมื่อวิญญาณมีอยู่ เพราะถือมั่นวิญญาณ เพราะยึดมั่นวิญญาณ จึงเกิดทิฏฐิขึ้นอย่างนี้ว่า โลกเที่ยง

(๓) สัสสตทิฐิมีสักกายทิฐิเป็นวัตถุ มีความถือผิดด้วยอาการ ๑๕ เป็นไฉน

ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับในโลกนี้ ไม่ได้เห็นพระอริยะเจ้า... ไม่ได้รับแนะนำในธรรมของสัปบุรุษ

ย่อมเห็นตนว่ามีรูปบ้าง
เห็นรูปในตนบ้าง
เห็นตนในรูปบ้าง

เห็นตนว่ามีเวทนาบ้าง
เห็นเวทนาในตนบ้าง
เห็นตนในเวทนาบ้าง

เห็นตนว่ามีสัญญาบ้าง
เห็นสัญญาในตนบ้าง
เห็นตนในสัญญาบ้าง

เห็นตนว่ามีสังขารบ้าง
เห็นสังขารปในตนบ้าง
เห็นตนในสังขารบ้าง

เห็นตนว่ามีวิญญาณบ้าง
เห็นวิญญาณในตนบ้าง
เห็นตนในวิญญาณบ้าง

สัสสตทิฐิอันมีสักกายทิฐิเป็นวัตถุ มีความถือผิดด้วยอาการ ๑๕ เหล่านี้

ปุถุชนย่อมเห็นตนว่ามีรูปอย่างไร

บุคคลบางคนในโลกนี้ ย่อมเห็นเวทนา/สัญญา/สังขาร/วิญญาณโดยความเป็นตน เขามีความเห็นอย่างนี้ว่า นี้แลเป็นตัวตนของเรา แต่ตัวตนของเรานี้นั้น มีรูปด้วยรูปนี้ ดังนี้ ชื่อว่า ย่อมเห็นตนว่ามีรูป 

เปรียบเหมือนต้นไม้มีเงา บุรุษพึงพูดถึงต้นไม้นั้นอย่างนี้ว่า นี่ต้นไม้ นี่เงา ต้นไม้เป็นอย่างหนึ่ง เงาเป็นอย่างหนึ่ง แต่ต้นไม้นี้นั้นแลมีเงาด้วยเงานี้ ดังนี้ ชื่อว่า ย่อมเห็นต้นไม้ว่ามีเงา ฉันใด 

บุคคลบางคนในโลกนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ย่อมเห็น เวทนา/สัญญา/สังขาร/วิญญาณ โดยความเป็นตน เขามีความเห็นอย่างนี้ว่า นี้แลเป็นตัวตน ของเรา แต่ตัวตนของเรานี้นั้นมีรูปด้วยรูปนี้ ดังนี้ ชื่อว่าย่อมเห็นตนว่ามีรูป

ปุถุชนย่อมเห็นตนว่ามีรูปอย่างนี้

นี้เป็นสัสสตทิฐิอันมีสักกายทิฐิเป็นวัตถุที่ ๑ 

ปุถุชนย่อมเห็นรูปในตนอย่างไร

บุคคลบางคนในโลกนี้ ย่อมเห็นเวทนา/สัญญา/สังขาร/วิญญาณ โดยความเป็นตน เขามีความเห็นอย่างนี้ว่า นี้แลเป็นตัวตนของเรา ก็แลในตัวตนนี้ มีรูปเช่นนี้ ดังนี้ ชื่อว่าย่อมเห็นรูปในตน

เปรียบเหมือนดอกไม้มีกลิ่นหอม บุรุษพึงพูดถึงดอกไม้นั้นอย่างนี้ว่า นี้ดอกไม้ นี้กลิ่นหอม ดอกไม้อย่างหนึ่ง กลิ่นหอมอย่างหนึ่ง แต่กลิ่นหอมนี้นั้นแลมีอยู่ในดอกไม้นี้ ดังนี้ ชื่อว่า ย่อมเห็นกลิ่นหอมในดอกไม้ ฉันใด

บุคคลบางคนในโลกนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ย่อมเห็นเวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ โดยความเป็นตน เขาย่อมมีความเห็น อย่างนี้ว่า นี้แลเป็นตัวตนของเรา ก็แลในตัวตนนี้มีรูปเช่นนี้ ดังนี้ ชื่อว่าย่อมเห็นรูปในตน

ปุถุชนย่อมเห็นรูปในตนอย่างนี้

นี้เป็นสัสสตทิฐิอันมีสักกายทิฐิเป็นวัตถุที่ ๒ 

ปุถุชนย่อมเห็นตนในรูปอย่างไร 

บุคคลบางคนในโลกนี้ ย่อมเห็นเวทนา/สัญญา/สังขาร/วิญญาณ โดยความเป็นตน เขามีความเห็นอย่างนี้ว่า นี้แลเป็นตัวตนของเรา แต่ตัวตนของเรานี้นั้นมีอยู่ในรูปนี้ ดังนี้ ชื่อว่าย่อมเห็นตนในรูป

เปรียบเหมือนแก้วมณีที่ใส่ไว้ในขวด บุรุษพึงพูดถึงแก้วมณีนั้นอย่างนี้ว่า นี้แก้วมณี นี้ขวด แก้วมณี เป็นอย่างหนึ่ง ขวดเป็นอย่างหนึ่ง แต่แก้วมณีนี้นั้นแลมีอยู่ในขวดนี้ ดังนี้ชื่อว่า ย่อมเห็นแก้วมณีในขวด ฉันใด

บุคคลบางคนในโลกนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ย่อม เห็นเวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ โดยความเป็นตน เขามีความเห็นอย่างนี้ว่า นี้แลเป็นตัวตนของเรา แต่ตัวตนของเรานี้นั้นแล มีอยู่ในรูปนี้ ดังนี้ ชื่อว่าย่อมเห็นตนในรูป

ปุถุชนย่อมเห็นตนในรูปอย่างนี้

นี้เป็นสัสสตทิฐิอันมีสักกายทิฐิเป็นวัตถุที่ ๓ 

ปุถุชนย่อมเห็นตนว่ามีเวทนาอย่างไร 

บุคคลบางคนในโลกนี้ ย่อมเห็นสัญญา/สังขาร/วิญญาณ/รูป โดยความเป็นตน เขามีความเห็นอย่างนี้ว่า นี้แลเป็นตัวตนของเรา แต่ว่าตัวตนของเรานี้นั้น มีเวทนาด้วยเวทนานี้ ดังนี้ ชื่อว่าเห็นตนว่ามีเวทนา

เปรียบเหมือนต้นไม้มีเงา บุรุษพึงพูดถึงต้นไม้นั้นอย่างนี้ว่า นี้ต้นไม้ นี้เงา ต้นไม้เป็นอย่างหนึ่ง เงาเป็น อย่างหนึ่ง แต่ว่าต้นไม้นี้นั้นแลมีเงาด้วยเงานี้ ดังนี้ ชื่อว่าย่อมเห็นต้นไม้มีเงา ฉันใด

บุคคลบางคนในโลกนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ย่อมเห็นสัญญา/สังขาร/วิญญาณ/รูป โดยความเป็นตน เขามีความเห็นอย่างนี้ว่า นี้แลเป็นตัวตนของเรา แต่ตัวตนของเรานี้นั้นแล มีเวทนาด้วยเวทนานี้ ดังนี้ ชื่อว่าย่อมเห็นตนว่ามีเวทนา

ปุถุชนย่อมเห็นตนว่ามีเวทนาอย่างนี้

นี้เป็นสัสสตทิฐิอันมีสักกายทิฐิเป็นวัตถุที่ ๔ 

ปุถุชนย่อมเห็นเวทนาในตนอย่างไร

บุคคลบางคนในโลกนี้ ย่อมเห็นสัญญา/สังขาร/วิญญาณ/รูป  โดยความเป็นตน เขามีความเห็นอย่างนี้ว่า นี้แลเป็นตัวตนของเรา ก็และในตัวตนนี้ มีเวทนานี้ ดังนี้ ชื่อว่าย่อมเห็นเวทนาในตน

เปรียบเหมือนดอกไม้มีกลิ่นหอม บุรุษพึงพูดถึงดอกไม้นั้นอย่างนี้ว่า นี้ดอกไม้ นี้กลิ่นหอม ดอกไม้เป็นอย่างหนึ่ง กลิ่นหอมเป็นอย่างหนึ่ง แต่กลิ่นหอมมีอยู่ในดอกไม้นี้ ดังนี้ ชื่อว่าย่อมเห็นกลิ่นหอมในดอกไม้ ฉันใด

บุคคลบางคนในโลกนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ย่อมเห็น สัญญา/สังขาร/วิญญาณ/รูป โดยความเป็นตน เขามีความเห็นอย่างนี้ว่า นี้แลเป็นตัวตนของเรา ก็แลในตัวตนนี้มีเวทนา ดังนี้ ชื่อว่าย่อมเห็นเวทนาในตน

ปุถุชนย่อมเห็นเวทนาในตนอย่างนี้

นี้เป็นสัสสตทิฐิอันมีสักกายทิฐิเป็นวัตถุที่ ๕ 

ปุถุชนย่อมเห็นตนในเวทนาอย่างไร

บุคคลบางคนในโลกนี้ ย่อมเห็นสัญญา/สังขาร/วิญญาณ/รูป โดยความเป็นตน เขามีความเห็นอย่างนี้ว่า นี้แลเป็นตัวตนของเรา แต่ว่าตัวตนของเรานี้นั้นแล มีอยู่ในเวทนานี้ ดังนี้ ชื่อว่าย่อมเห็นตนในเวทนา

เปรียบเหมือนแก้วมณีที่ใส่ไว้ในขวด บุรุษพึงพูดถึงแก้วมณีนั้นอย่างนี้ว่า นี้แก้วมณี นี้ขวด แก้วมณี เป็นอย่างหนึ่ง ขวดเป็นอย่างหนึ่ง แต่แก้วมณีนี้นั้นแลมีอยู่ในขวดนี้ ดังนี้ชื่อว่า ย่อมเห็นแก้วมณีในขวด ฉันใด

บุคคลบางคนในโลกนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ย่อมเห็นสัญญา/สังขาร/วิญญาณ/รูป โดยความเป็นตน เขามีความเห็นอย่างนี้ว่า นี้แลเป็นตัวตนของเรา แต่ตัวตนของเรานี้นั้นแล มีอยู่ในเวทนานี้ ดังนี้ ชื่อว่าย่อมเห็นตนในเวทนา

ปุถุชนย่อมเห็นตนในเวทนาอย่างนี้

นี้เป็นสัสสตทิฐิอันมีสักกายทิฐิเป็นวัตถุที่ ๖ 

ปุถุชนย่อมเห็นตนว่ามีสัญญาอย่างไร 

บุคคลบางคนในโลกนี้ ย่อมเห็นสังขาร/วิญญาณ/รูป/เวทนา โดยความเป็นตน เขามีความเห็นอย่างนี้ว่า นี้แลเป็นตัวตนของเรา แต่ว่าตัวตนของเรานี้นั้น มีสัญญาด้วยสัญญานี้ ดังนี้ ชื่อว่าเห็นตนว่ามีสัญญา 

เปรียบเหมือนต้นไม้มีเงา บุรุษพึงพูดถึงต้นไม้นั้นอย่างนี้ว่า นี้ต้นไม้ นี้เงา ต้นไม้เป็นอย่างหนึ่ง เงาเป็น อย่างหนึ่ง แต่ว่าต้นไม้นี้นั้นแลมีเงาด้วยเงานี้ ดังนี้ ชื่อว่าย่อมเห็นต้นไม้มีเงา ฉันใด 

บุคคลบางคนในโลกนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ย่อมเห็นสังขาร/วิญญาณ/รูป/เวทนา โดยความเป็นตน เขามีความเห็นอย่างนี้ว่า นี้แลเป็นตัวตนของเรา แต่ตัวตนของเรานี้นั้นแล มีสัญญาด้วยสัญญานี้ ดังนี้ ชื่อว่าย่อมเห็นตนว่ามีสัญญา 

ปุถุชนย่อมเห็นตนว่ามีสัญญาอย่างนี้

นี้เป็นสัสสตทิฐิอันมีสักกายทิฐิเป็นวัตถุที่ ๗ 

ปุถุชนย่อมเห็นสัญญาในตนอย่างไร 

บุคคลบางคนในโลกนี้ ย่อมเห็นสังขาร/วิญญาณ/รูป/เวทนา  โดยความเป็นตน เขามีความเห็นอย่างนี้ว่า นี้แลเป็นตัวตนของเรา ก็และในตัวตนนี้ มีสัญญานี้ ดังนี้ ชื่อว่าย่อมเห็นสัญญาในตน 

เปรียบเหมือนดอกไม้มีกลิ่นหอม บุรุษพึงพูดถึงดอกไม้นั้นอย่างนี้ว่า นี้ดอกไม้ นี้กลิ่นหอม ดอกไม้เป็นอย่างหนึ่ง กลิ่นหอมเป็นอย่างหนึ่ง แต่กลิ่นหอมมีอยู่ในดอกไม้นี้ ดังนี้ ชื่อว่าย่อมเห็นกลิ่นหอมในดอกไม้ ฉันใด 

บุคคลบางคนในโลกนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ย่อมเห็นสังขาร/วิญญาณ/รูป/เวทนา โดยความเป็นตน เขามีความเห็นอย่างนี้ว่า นี้แลเป็นตัวตนของเรา ก็แลในตัวตนนี้มีสัญญา ดังนี้ ชื่อว่าย่อมเห็นสัญญาในตน 

ปุถุชนย่อมเห็นสัญญาในตนอย่างนี้

นี้เป็นสัสสตทิฐิอันมีสักกายทิฐิเป็นวัตถุที่ ๘ 

ปุถุชนย่อมเห็นตนในสัญญาอย่างไร 

บุคคลบางคนในโลกนี้ ย่อมเห็นสังขาร/วิญญาณ/รูป/เวทนา โดยความเป็นตน เขามีความเห็นอย่างนี้ว่า นี้แลเป็นตัวตนของเรา แต่ว่าตัวตนของเรานี้นั้นแล มีอยู่ในสัญญานี้ ดังนี้ ชื่อว่าย่อมเห็นตนในสัญญา 

เปรียบเหมือนแก้วมณีที่ใส่ไว้ในขวด บุรุษพึงพูดถึงแก้วมณีนั้นอย่างนี้ว่า นี้แก้วมณี นี้ขวด แก้วมณี เป็นอย่างหนึ่ง ขวดเป็นอย่างหนึ่ง แต่แก้วมณีนี้นั้นแลมีอยู่ในขวดนี้ ดังนี้ชื่อว่า ย่อมเห็นแก้วมณีในขวด ฉันใด

บุคคลบางคนในโลกนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ย่อมเห็นสังขาร/วิญญาณ/รูป/เวทนา โดยความเป็นตน เขามีความเห็นอย่างนี้ว่า นี้แลเป็นตัวตนของเรา แต่ตัวตนของเรานี้นั้นแล มีอยู่ในสัญญานี้ ดังนี้ ชื่อว่าย่อมเห็นตนในสัญญา

ปุถุชนย่อมเห็นตนในสัญญาอย่างนี้

นี้เป็นสัสสตทิฐิอันมีสักกายทิฐิเป็นวัตถุที่ ๙ 

ปุถุชนย่อมเห็นตนว่ามีสังขารอย่างไร 

บุคคลบางคนในโลกนี้ ย่อมเห็นวิญญาณ/รูป/เวทนา/สัญญา โดยความเป็นตน เขามีความเห็นอย่างนี้ว่า นี้แลเป็นตัวตนของเรา แต่ว่าตัวตนของเรานี้นั้น มีสังขารด้วยสังขารนี้ ดังนี้ ชื่อว่าเห็นตนว่ามีสังขาร 

เปรียบเหมือนต้นไม้มีเงา บุรุษพึงพูดถึงต้นไม้นั้นอย่างนี้ว่า นี้ต้นไม้ นี้เงา ต้นไม้เป็นอย่างหนึ่ง เงาเป็น อย่างหนึ่ง แต่ว่าต้นไม้นี้นั้นแลมีเงาด้วยเงานี้ ดังนี้ ชื่อว่าย่อมเห็นต้นไม้มีเงา ฉันใด 

บุคคลบางคนในโลกนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ย่อมเห็นวิญญาณ/รูป/เวทนา/สัญญา โดยความเป็นตน เขามีความเห็นอย่างนี้ว่า นี้แลเป็นตัวตนของเรา แต่ตัวตนของเรานี้นั้นแล มีสังขารด้วยสังขารนี้ ดังนี้ ชื่อว่าย่อมเห็นตนว่ามีสังขาร 

ปุถุชนย่อมเห็นตนว่ามีสังขารอย่างนี้

นี้เป็นสัสสตทิฐิอันมีสักกายทิฐิเป็นวัตถุที่ ๑๐ 

ปุถุชนย่อมเห็นสังขารในตนอย่างไร 

บุคคลบางคนในโลกนี้ ย่อมเห็นวิญญาณ/รูป/เวทนา/สัญญา โดยความเป็นตน เขามีความเห็นอย่างนี้ว่า นี้แลเป็นตัวตนของเรา ก็และในตัวตนนี้ มีสังขารนี้ ดังนี้ ชื่อว่าย่อมเห็นสังขารในตน 

เปรียบเหมือนดอกไม้มีกลิ่นหอม บุรุษพึงพูดถึงดอกไม้นั้นอย่างนี้ว่า นี้ดอกไม้ นี้กลิ่นหอม ดอกไม้เป็นอย่างหนึ่ง กลิ่นหอมเป็นอย่างหนึ่ง แต่กลิ่นหอมมีอยู่ในดอกไม้นี้ ดังนี้ ชื่อว่าย่อมเห็นกลิ่นหอมในดอกไม้ ฉันใด 

บุคคลบางคนในโลกนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ย่อมเห็นวิญญาณ/รูป/เวทนา/สัญญา โดยความเป็นตน เขามีความเห็นอย่างนี้ว่า นี้แลเป็นตัวตนของเรา ก็แลในตัวตนนี้มีสังขาร ดังนี้ ชื่อว่าย่อมเห็นสังขารในตน 

ปุถุชนย่อมเห็นสังขารในตนอย่างนี้

นี้เป็นสัสสตทิฐิอันมีสักกายทิฐิเป็นวัตถุที่ ๑๑ 

ปุถุชนย่อมเห็นตนในสังขารอย่างไร 

บุคคลบางคนในโลกนี้ ย่อมเห็นวิญญาณ/รูป/เวทนา/สัญญา โดยความเป็นตน เขามีความเห็นอย่างนี้ว่า นี้แลเป็นตัวตนของเรา แต่ว่าตัวตนของเรานี้นั้นแล มีอยู่ในสังขารนี้ ดังนี้ ชื่อว่าย่อมเห็นตนในสังขาร 

เปรียบเหมือนแก้วมณีที่ใส่ไว้ในขวด บุรุษพึงพูดถึงแก้วมณีนั้นอย่างนี้ว่า นี้แก้วมณี นี้ขวด แก้วมณี เป็นอย่างหนึ่ง ขวดเป็นอย่างหนึ่ง แต่แก้วมณีนี้นั้นแลมีอยู่ในขวดนี้ ดังนี้ชื่อว่า ย่อมเห็นแก้วมณีในขวด ฉันใด

บุคคลบางคนในโลกนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ย่อมเห็นวิญญาณ/รูป/เวทนา/สัญญา โดยความเป็นตน เขามีความเห็นอย่างนี้ว่า นี้แลเป็นตัวตนของเรา แต่ตัวตนของเรานี้นั้นแล มีอยู่ในสังขารนี้ ดังนี้ ชื่อว่าย่อมเห็นตนในสังขาร

ปุถุชนย่อมเห็นตนในสังขารอย่างนี้

นี้เป็นสัสสตทิฐิอันมีสักกายทิฐิเป็นวัตถุที่ ๑๒ 

ปุถุชนย่อมเห็นตนว่ามีวิญญาณอย่างไร 

บุคคลบางคนในโลกนี้ ย่อมเห็นรูป/เวทนา/สัญญา/สังขาร โดยความเป็นตน เขามีความเห็นอย่างนี้ว่า นี้แลเป็นตัวตนของเรา แต่ว่าตัวตนของเรานี้นั้น มีวิญญาณด้วยวิญญาณนี้ ดังนี้ ชื่อว่าเห็นตนว่ามีวิญญาณ 

เปรียบเหมือนต้นไม้มีเงา บุรุษพึงพูดถึงต้นไม้นั้นอย่างนี้ว่า นี้ต้นไม้ นี้เงา ต้นไม้เป็นอย่างหนึ่ง เงาเป็น อย่างหนึ่ง แต่ว่าต้นไม้นี้นั้นแลมีเงาด้วยเงานี้ ดังนี้ ชื่อว่าย่อมเห็นต้นไม้มีเงา ฉันใด 

บุคคลบางคนในโลกนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ย่อมเห็นรูป/เวทนา/สัญญา/สังขาร โดยความเป็นตน เขามีความเห็นอย่างนี้ว่า นี้แลเป็นตัวตนของเรา แต่ตัวตนของเรานี้นั้นแล มีวิญญาณด้วยวิญญาณนี้ ดังนี้ ชื่อว่าย่อมเห็นตนว่ามีวิญญาณ 

ปุถุชนย่อมเห็นตนว่ามีวิญญาณอย่างนี้

นี้เป็นสัสสตทิฐิอันมีสักกายทิฐิเป็นวัตถุที่ ๑๓ 

ปุถุชนย่อมเห็นวิญญาณในตนอย่างไร 

บุคคลบางคนในโลกนี้ ย่อมเห็นรูป/เวทนา/สัญญา/สังขาร  โดยความเป็นตน เขามีความเห็นอย่างนี้ว่า นี้แลเป็นตัวตนของเรา ก็และในตัวตนนี้ มีวิญญาณนี้ ดังนี้ ชื่อว่าย่อมเห็นวิญญาณในตน 

เปรียบเหมือนดอกไม้มีกลิ่นหอม บุรุษพึงพูดถึงดอกไม้นั้นอย่างนี้ว่า นี้ดอกไม้ นี้กลิ่นหอม ดอกไม้เป็นอย่างหนึ่ง กลิ่นหอมเป็นอย่างหนึ่ง แต่กลิ่นหอมมีอยู่ในดอกไม้นี้ ดังนี้ ชื่อว่าย่อมเห็นกลิ่นหอมในดอกไม้ ฉันใด 

บุคคลบางคนในโลกนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ย่อมเห็นรูป/เวทนา/สัญญา/สังขาร  โดยความเป็นตน เขามีความเห็นอย่างนี้ว่า นี้แลเป็นตัวตนของเรา ก็แลในตัวตนนี้มีวิญญาณ ดังนี้ ชื่อว่าย่อมเห็นวิญญาณในตน 

ปุถุชนย่อมเห็นวิญญาณในตนอย่างนี้

นี้เป็นสัสสตทิฐิอันมีสักกายทิฐิเป็นวัตถุที่ ๑๔ 

ปุถุชนย่อมเห็นตนในวิญญาณอย่างไร 

บุคคลบางคนในโลกนี้ ย่อมเห็นรูป/เวทนา/สัญญา/สังขาร  โดยความเป็นตน เขามีความเห็นอย่างนี้ว่า นี้แลเป็นตัวตนของเรา แต่ว่าตัวตนของเรานี้นั้นแล มีอยู่ในวิญญาณนี้ ดังนี้ ชื่อว่าย่อมเห็นตนในวิญญาณ 

เปรียบเหมือนแก้วมณีที่ใส่ไว้ในขวด บุรุษพึงพูดถึงแก้วมณีนั้นอย่างนี้ว่า นี้แก้วมณี นี้ขวด แก้วมณี เป็นอย่างหนึ่ง ขวดเป็นอย่างหนึ่ง แต่แก้วมณีนี้นั้นแลมีอยู่ในขวดนี้ ดังนี้ชื่อว่า ย่อมเห็นแก้วมณีในขวด ฉันใด

บุคคลบางคนในโลกนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ย่อมเห็นรูป/เวทนา/สัญญา/สังขาร  โดยความเป็นตน เขามีความเห็นอย่างนี้ว่า นี้แลเป็นตัวตนของเรา แต่ตัวตนของเรานี้นั้นแล มีอยู่ในวิญญาณนี้ ดังนี้ ชื่อว่าย่อมเห็นตนในวิญญาณ

ปุถุชนย่อมเห็นตนในวิญญาณอย่างนี้

นี้เป็นสัสสตทิฐิอันมีสักกายทิฐิเป็นวัตถุที่ ๑๕ 

(๔) สัสสตทิฏฐิ ๔

สมณพราหมณ์มีทิฏฐิว่าเที่ยง บัญญัติอัตตาและโลกว่าเที่ยง ด้วยเหตุ ๔ ประการ

สมณะหรือพราหมณ์บางคนอาศัยความเพียรเครื่องเผากิเลส อาศัยความเพียรที่ตั้งมั่น อาศัยความประกอบเนือง ๆ อาศัยความไม่ประมาท อาศัยมนสิการโดยชอบ แล้วบรรลุเจโตสมาธิอันเป็นเครื่องตั้งมั่นแห่งจิต ตามระลึกถึงขันธ์ที่เคยอาศัย อยู่ในกาลก่อนได้หลายประการคือ ตามระลึกชาติได้ หนึ่งชาติบ้าง ...หลายแสนชาติบ้าง ว่าในภพโน้น เรามีชื่ออย่างนั้น มีโคตรอย่างนั้น มีผิวพรรณอย่างนั้น มีอาหารอย่างนั้น เสวยสุขเสวยทุกข์อย่างนั้น ๆ มีกำหนดอายุเพียงเท่านั้น ครั้นจุติจากภพนั้นแล้วได้ไปเกิดในภพโน้น แม้ในภพนั้นเราก็ได้มีชื่ออย่างนั้น มีโคตรอย่างนั้น มีผิวพรรณอย่างนั้น มีอาหารอย่างนั้น เสวยสุขเสวยทุกข์อย่างนั้น ๆ มีกำหนดอายุเพียงเท่านั้น ครั้นจุติจากภพนั้น แล้วได้มาบังเกิดในภพนี้

ย่อมตามระลึกถึงขันธ์ที่เคยอาศัยอยู่ในกาลก่อนได้หลายประการ พร้อมทั้งอาการ พร้อมทั้งอุเทศ ฉะนี้

เขากล่าวอย่างนี้ว่า ด้วยการได้บรรลุคุณวิเศษนี้ ข้าพเจ้าจึงรู้อาการที่อัตตาและโลกเที่ยง คงที่ ตั้งอยู่มั่นดุจยอดภูเขา ตั้งอยู่มั่นดุจเสาระเนียด ส่วนเหล่าสัตว์นั้น ย่อมแล่นไป ย่อมท่องเที่ยวไป ย่อมจุติ ย่อมเกิด แต่สิ่งที่เที่ยงเสมอคงมีอยู่แท้

นี้เป็นฐานะที่ ๑ ซึ่งสมณพราหมณ์พวกหนึ่งอาศัยแล้ว ปรารภแล้ว จึงมีทิฏฐิว่าเที่ยง ย่อมบัญญัติอัตตาและโลกว่าเที่ยง

สมณะหรือพราหมณ์บางคนอาศัยความเพียรเครื่องเผากิเลส อาศัยความเพียรที่ตั้งมั่น อาศัยความประกอบเนือง ๆ อาศัยความไม่ประมาท อาศัยมนสิการโดยชอบ แล้วบรรลุเจโตสมาธิอันเป็นเครื่องตั้งมั่นแห่งจิต ตามระลึกถึงขันธ์ที่เคยอาศัย อยู่ในกาลก่อนได้หลายประการคือ ตามระลึกชาติได้ หนึ่งสังวัฏฏวิวัฏฏกัปบ้าง สองบ้าง สามบ้าง สี่บ้าง ห้าบ้าง สิบบ้าง ว่าในกัปโน้น เรามีชื่ออย่างนั้น มีโคตรอย่างนั้น มีผิวพรรณอย่างนั้น มีอาหารอย่างนั้น เสวยสุขเสวยทุกข์อย่างนั้น ๆ มีกำหนดอายุเพียงเท่านั้น ครั้นจุติจากกัปนั้นแล้วได้ไปเกิดในกัปโน้น แม้ในกัปนั้นเราก็ได้มีชื่ออย่างนั้น มีโคตรอย่างนั้น มีผิวพรรณอย่างนั้น มีอาหารอย่างนั้น เสวยสุขเสวยทุกข์อย่างนั้น ๆ มีกำหนดอายุเพียงเท่านั้น ครั้นจุติจากกัปนั้น แล้วได้มาบังเกิดในกัปนี้

ย่อมตามระลึกถึงขันธ์ที่เคยอาศัยอยู่ในกาลก่อนได้หลายประการ พร้อมทั้งอาการ พร้อมทั้งอุเทศ ฉะนี้ 

เขากล่าวอย่างนี้ว่า ด้วยการได้บรรลุคุณวิเศษนี้ ข้าพเจ้าจึงรู้อาการที่อัตตาและโลกเที่ยง คงที่ ตั้งอยู่มั่นดุจยอดภูเขา ตั้งอยู่มั่นดุจเสาระเนียด ส่วนเหล่าสัตว์นั้น ย่อมแล่นไป ย่อมท่องเที่ยวไป ย่อมจุติ ย่อมเกิด แต่สิ่งที่เที่ยงเสมอคงมีอยู่แท้

นี้เป็นฐานะที่ ๒ ซึ่งสมณพราหมณ์พวกหนึ่งอาศัยแล้ว ปรารภแล้ว จึงมีทิฏฐิว่าเที่ยง ย่อมบัญญัติอัตตาและโลกว่าเที่ยง

สมณะหรือพราหมณ์บางคนอาศัยความเพียรเครื่องเผากิเลส อาศัยความเพียรที่ตั้งมั่น อาศัยความประกอบเนือง ๆ อาศัยความไม่ประมาท อาศัยมนสิการโดยชอบ แล้วบรรลุเจโตสมาธิอันเป็นเครื่องตั้งมั่นแห่งจิต ตามระลึกถึงขันธ์ที่เคยอาศัย อยู่ในกาลก่อนได้หลายประการคือ ตามระลึกชาติได้ สิบสังวัฏฏวิวัฏฏกัปบ้าง ยี่สิบบ้าง สามสิบบ้าง สี่สิบบ้าง ว่าในกัปโน้น เรามีชื่ออย่างนั้น มีโคตรอย่างนั้น มีผิวพรรณอย่างนั้น มีอาหารอย่างนั้น เสวยสุขเสวยทุกข์อย่างนั้น ๆ มีกำหนดอายุเพียงเท่านั้น ครั้นจุติจากกัปนั้นแล้วได้ไปเกิดในกัปโน้น แม้ในกัปนั้นเราก็ได้มีชื่ออย่างนั้น มีโคตรอย่างนั้น มีผิวพรรณอย่างนั้น มีอาหารอย่างนั้น เสวยสุขเสวยทุกข์อย่างนั้น ๆ มีกำหนดอายุเพียงเท่านั้น ครั้นจุติจากกัปนั้น แล้วได้มาบังเกิดในกัปนี้ 

ย่อมตามระลึกถึงขันธ์ที่เคยอาศัยอยู่ในกาลก่อนได้หลายประการ พร้อมทั้งอาการ พร้อมทั้งอุเทศ ฉะนี้ 

เขากล่าวอย่างนี้ว่า ด้วยการได้บรรลุคุณวิเศษนี้ ข้าพเจ้าจึงรู้อาการที่อัตตาและโลกเที่ยง คงที่ ตั้งอยู่มั่นดุจยอดภูเขา ตั้งอยู่มั่นดุจเสาระเนียด ส่วนเหล่าสัตว์นั้น ย่อมแล่นไป ย่อมท่องเที่ยวไป ย่อมจุติ ย่อมเกิด แต่สิ่งที่เที่ยงเสมอคงมีอยู่แท้

นี้เป็นฐานะที่ ๓ ซึ่งสมณพราหมณ์พวกหนึ่ง อาศัยแล้ว ปรารภแล้ว จึงมีทิฏฐิว่าเที่ยง ย่อมบัญญัติอัตตาและโลกว่าเที่ยง

สมณะหรือพราหมณ์บางคนในโลกนี้ เป็นนักตรึก เป็นนักค้นคิด กล่าวแสดงปฏิภาณของตนตามที่ตรึกได้ ตามที่ค้นคิดได้อย่างนี้ว่า

อัตตาและโลกเที่ยง คงที่ตั้งอยู่มั่นดุจยอดภูเขา ตั้งอยู่มั่นดุจเสาระเนียด ส่วนเหล่า สัตว์นั้นย่อมแล่นไป ย่อมท่องเที่ยวไป ย่อมจุติ ย่อมเกิด แต่สิ่งที่เที่ยงเสมอคงมีอยู่แท้

นี้เป็นฐานะที่ ๔ ซึ่งสมณพราหมณ์พวกหนึ่งอาศัยแล้ว ปรารภแล้ว จึงมีทิฏฐิว่าเที่ยง ย่อมบัญญัติอัตตาและโลกว่าเที่ยง

ก็สมณพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่งที่มีทิฏฐิว่าเที่ยง จะบัญญัติอัตตาและโลกว่าเที่ยง สมณพราหมณ์เหล่านั้นทั้งหมด ย่อมบัญญัติด้วยเหตุ ๔ ประการนี้เท่านั้น หรือแต่อย่างใดอย่างหนึ่ง นอกจากนี้ ไม่มี

การละสัสสตทิฏฐิ

(๕) ภิกษุพึงเจริญอนิจจสัญญา เพื่อละสัสสตทิฐิ

(๖) ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา เพราะไม่ถือมั่นสิ่งนั้น จะไม่พึงเกิดทิฏฐิขึ้นอย่างนี้ว่า โลกเที่ยง



อ้างอิง : 
(๑) ธรรมสังคณีปกรณ์ พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๓๔ ข้อที่ ๘๔๗ หน้า ๒๙๒
(๒) สัสสตทิฏฐิสูตร พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๗ ข้อที่ ๔๓๓ หน้า ๒๒๖ 
(๓) ทิฐิกถา ปฏิสัมภิทามรรค พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๓๑ ข้อที่ ๓๓๕ หน้า ๑๑๙
(๔) สัสสตทิฏฐิ ๔ พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๙ ข้อที่ ๒๗-๓๐ หน้า ๑๑-๑๕
(๕) อัสสาทสูตร พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๒๒ ข้อที่ ๓๘๓ หน้า ๔๐๑
(๖) สัสสตทิฏฐิสูตร พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๗ ข้อที่ ๔๓๔ หน้า ๒๒๗ 

 

คำต่อไป