Main navigation
สุญ (ว่าง)
Share:

๑. สุญญสุญญะ

๒. สังขารสุญญะ

๓. วิปริณามสุญญะ

๔. อัคคสุญญะ

๕. ลักขณสุญญะ

๖. วิกขัมภนสุญญะ

๗. ตทังคสุญญะ

๘. สมุจเฉทสุญญะ

๙. ปฏิปัสสัทธิสุญญะ

๑๐. นิสสรณสุญญะ

๑๑. อัชฌัตตสุญญะ

๑๒. พหิทธาสุญญะ

๑๓. ทุภโตสุญญะ

๑๔. สภาคสุญญะ

๑๕. วิสภาคสุญญะ

๑๖. เอสนาสุญญะ

๑๗. ปริคคหสุญญะ

๑๘. ปฏิลาภสุญญะ

๑๙. ปฏิเวธสุญญะ

๒๐. เอกัตตสุญญะ

๒๑. นานัตตสุญญะ

๒๒. ขันติสุญญะ

๒๓. อธิษฐานสุญญะ

๒๔. ปริโยคาหนสุญญะ

๒๕. ความว่างขั้นสูงสุดของความว่างทั้งปวง คือ การที่บุคคลผู้มีสัมปชัญญะทำความเป็นไปแห่งกิเลสให้สิ้นไป

๑. สุญญสุญญะ เป็นอย่างไร

คือ จักขุ โสตะ ฆานะ ชิวหา กาย มโน ว่างจากอัตตา จากสิ่งที่เนื่องด้วยอัตตา จากความเที่ยง จากความยั่งยืน จากความมั่นคง หรือจากความไม่แปรผันเป็นธรรมดา นี้ชื่อว่าสุญญสุญญะ

๒. สังขารสุญญะ เป็นอย่างไร

สังขาร ๓ ประการ ได้แก่

๑. ปุญญาภิสังขาร 
๒. อปุญญาภิสังขาร
๓. อาเนญชาภิสังขาร

ปุญญาภิสังขาร ว่างจากอปุญญาภิสังขารและอาเนญชาภิสังขาร

อปุญญาภิสังขาร ว่างจากปุญญาภิสังขารและอาเนญชาภิสังขาร

อาเนญชาภิสังขาร ว่างจากปุญญาภิสังขารและอปุญญาภิสังขาร

อีกนัยหนึ่ง สังขาร ๓ ประการ ได้แก่
๑. กายสังขาร 
๒. วจีสังขาร
๓. จิตตสังขาร

กายสังขาร ว่างจากวจีสังขารและจิตตสังขาร

วจีสังขาร ว่างจากกายสังขารและจิตตสังขาร

จิตตสังขาร ว่างจากกายสังขารและวจีสังขาร

อีกนัยหนึ่ง สังขาร ๓ ประการ ได้แก่
๑. สังขารส่วนอดีต 
๒. สังขารส่วนอนาคต
๓. สังขารส่วนปัจจุบัน

สังขารส่วนอดีต ว่างจากสังขารส่วนอนาคตและสังขารส่วนปัจจุบัน

สังขารส่วนอนาคต ว่างจากสังขารส่วนอดีตและสังขารส่วนปัจจุบัน

สังขารส่วนปัจจุบัน ว่างจากสังขารส่วนอดีตและสังขารส่วนอนาคต

นี้สังขาร ๓ ประการ

นี้ชื่อว่าสังขารสุญญะ

๓. วิปริณามสุญญะ เป็นอย่างไร

รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ
จักขุ โสตะ ฆานะ ชิวหา กาย มโน
เกิดแล้ว สูญไปจากสภาพ (ปรกติเดิม)

รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ
จักขุ โสตะ ฆานะ ชิวหา กาย มโน
หายไป แปรปรวนไป และสูญไป

ภพที่เกิดแล้ว สูญไปจากสภาพ
ภพหายไป แปรปรวนไปและสูญไป

นี้ชื่อว่าวิปริณามสุญญะ

๔. อัคคสุญญะ เป็นอย่างไร

ความสงบแห่งสังขารทั้งปวง ความสละคืนอุปธิทั้งปวง ความสิ้นไปแห่งตัณหา ความคลายกำหนัด ความดับ นิพพาน เป็นบทเลิศ เป็นบทประเสริฐ เป็นบทวิเศษ นี้ชื่อว่า อัคคสุญญะ

๕. ลักขณสุญญะ เป็นอย่างไร

ลักษณะ ๒ ประการ ได้แก่

๑. พาลลักษณะ (ลักษณะคนพาล)
๒. บัณฑิตลักษณะ (ลักษณะบัณฑิต)

พาลลักษณะ ว่างจากบัณฑิตลักษณะ
บัณฑิตลักษณะ ว่างจากพาลลักษณะ

ลักษณะ ๓ ประการ ได้แก่

๑. อุปปาทลักษณะ (ลักษณะความเกิดขึ้น)
๒. วยลักษณะ (ลักษณะความเสื่อม)
๓. ฐิตัญญถัตตลักษณะ (ลักษณะแปรผันเมื่อยังตั้งอยู่)

อุปปาทลักษณะ ว่างจากวยลักษณะและฐิตัญญถัตตลักษณะ

วยลักษณะ ว่างจากวยลักษณะและฐิตัญญถัตตลักษณะ

ฐิตัญญถัตตลักษณะ ว่างจากอุปปาทลักษณะและวยลักษณะ

ลักษณะความเกิดขึ้นแห่งรูป ว่างจากลักษณะความเสื่อมและลักษณะแปรผันเมื่อยังตั้งอยู่

ลักษณะความเสื่อมแห่งรูป ว่างจากลักษณะความเกิดขึ้นและลักษณะแปรผันเมื่อยังตั้งอยู่

ลักษณะแปรผันเมื่อยังตั้งอยู่แห่งรูป ว่างจากลักษณะความเกิดขึ้นและลักษณะความเสื่อม

ลักษณะความเกิดขึ้นแห่งเวทนา ฯลฯ สัญญา ฯลฯ สังขาร ฯลฯ วิญญาณ ฯลฯ จักขุ โสตะ ฯลฯ

ลักษณะความเกิดขึ้นแห่งชราและมรณะ เป็นธรรมว่างจากลักษณะความเสื่อมและลักษณะแปรผันเมื่อยังตั้งอยู่

ลักษณะความเสื่อมแห่งชราและมรณะ เป็นธรรมว่างจากลักษณะความเกิดขึ้นและลักษณะแปรผันเมื่อยังตั้งอยู่

ลักษณะแปรผันเมื่อยังตั้งอยู่แห่งชราและมรณะ เป็นธรรมว่างจากความเกิดขึ้นและลักษณะความเสื่อม

นี้ชื่อว่าลักขณสุญญะ

๖. วิกขัมภนสุญญะ เป็นอย่างไร

กามฉันทะอันเนกขัมมะข่มแล้วและสูญไป

พยาบาทอันความไม่พยาบาทข่มแล้วและสูญไป

ถีนมิทธะอันอาโลกสัญญาข่มแล้วและสูญไป

อุทธัจจะอันความไม่ฟุ้งซ่านข่มแล้วและสูญไป

วิจิกิจฉาอันการกำหนดธรรมข่มแล้วและสูญไป

อวิชชาอันญาณข่มแล้วและสูญไป

อรติอันความปราโมทย์ข่มแล้วและสูญไป

นิวรณ์อันปฐมฌานข่มแล้วและสูญไป

วิตกวิจารอันทุติยฌานข่มแล้วและสูญไป

ปีติอันตติยฌานข่มแล้วและสูญไป

สุขและทุกข์อันจตุตถฌานข่มแล้วและสูญไป

รูปสัญญา ปฏิฆสัญญา นานัตตสัญญาอันอากาสานัญจายตนสมาบัติข่มแล้วและสูญไป

อากาสานัญจายตนสัญญาอันวิญญาณัญจายตนสมาบัติข่มแล้วและสูญไป

วิญญาณัญจายตนสัญญาอันอากิญจัญญายตนสมาบัติข่มแล้วและสูญไป

อากิญจัญญายตนสัญญาอันเนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัติข่มแล้วและสูญไป

กิเลสทั้งปวงอันอรหัตมรรคข่มแล้วและสูญไป

นี้ชื่อว่าวิกขัมภนสุญญะ

ตทังคสุญญะ (ความสูญด้วยองค์ธรรมเป็นคู่ปรับเฉพาะ) เป็นอย่างไร

กามฉันทะเป็นตทังคสูญเพราะเนกขัมมะ

พยาบาทเป็นตทังคสูญเพราะอพยาบาท

ถีนมิทธะเป็นตทังคสูญเพราะอาโลกสัญญา

อุทธัจจะเป็นตทังคสูญเพราะอวิกเขปะ

วิจิกิจฉาเป็นตทังคสูญเพราะธัมมววัตถาน

อวิชชาเป็นตทังคสูญเพราะญาณ

อรติเป็นตทังคสูญเพราะปามุชชะ

นิวรณ์เป็นตทังคสูญเพราะปฐมฌาน

วิตกวิจารเป็นตทังคสูญเพราะทุติยฌาน

ปีติเป็นเป็นตทังคสูญเพราะตติยฌาน

สุขและทุกข์เป็นตทังคสูญเพราะจตุตถฌาน

รูปสัญญา ปฏิฆสัญญา นานัตตสัญญาเป็นตทังคสูญเพราะอากาสานัญจายตนสมาบัติ

อากาสานัญจายตนสัญญาเป็นตทังคสูญเพราะวิญญาณัญจายตนสมาบัติ

วิญญาณัญจายตนสัญญาเป็นตทังคสูญเพราะอากิญจัญญายตนสมาบัติ

อากิญจัญญายตนสัญญาเป็นตทังคสูญเพราะเนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัติ

ความถือมั่นเพราะกิเลสเครื่องประกอบไว้เป็นตทังคสูญเพราะวิวัฏนาสุปัสสนา

นี้ชื่อว่าตทังคสุญญะ

๘. สมุจเฉทสุญญะ เป็นอย่างไร

กามฉันทะอันเนกขัมมะตัดแล้วและสูญไป

พยาบาทอันอพยาบาทตัดแล้วและสูญไป

ถีนมิทธะอันอาโลกสัญญาตัดแล้วและสูญไป

อุทธัจจะอันอวิกเขปะตัดแล้วและสูญไป

วิจิกิจฉาอันธัมมววัตถานตัดแล้วและสูญไป

อวิชชาอันญาณตัดแล้วและสูญไป

อรติอันปามุชชะตัดแล้วและสูญไป

นิวรณ์อันปฐมฌานตัดแล้วและสูญไป

วิตกวิจารอันทุติยฌานตัดแล้วและสูญไป

ปีติอันตติยฌานตัดแล้วและสูญไป

สุขและทุกข์อันจตุตถฌานตัดแล้วและสูญไป

รูปสัญญา ปฏิฆสัญญา นานัตตสัญญาอันอากาสานัญจายตนสมาบัติตัดแล้วและสูญไป

อากาสานัญจายตนสัญญาอันวิญญาณัญจายตนสมาบัติตัดแล้วและสูญไป

วิญญาณัญจายตนสัญญาอันอากิญจัญญายตนสมาบัติตัดแล้วและสูญไป

อากิญจัญญายตนสัญญาอันเนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัติตัดแล้วและสูญไป

กิเลสทั้งปวงอันอรหัตตมรรคตัดแล้วและสูญไป

นี้ชื่อว่าสมุจเฉทสุญญะ

๙. ปฏิปัสสัทธิสุญญะ เป็นอย่างไร

กามฉันทะอันเนกขัมมะทำให้สงบระงับและสูญไป

พยาบาทอันอพยาบาททำให้สงบระงับและสูญไป

ถีนมิทธะอันอาโลกสัญาทำให้สงบระงับและสูญไป

อุทธัจจะอันอวิกเขปะทำให้สงบระงับและสูญไปะ

วิจิกิจฉาอันธัมมววัตถานทำให้สงบระงับและสูญไป

อวิชชาอันญาณทำให้สงบระงับและสูญไป

อรติอันปามุชชะทำให้สงบระงับและสูญไป

นิวรณ์อันปฐมฌานทำให้สงบระงับและสูญไป

วิตกวิจารอันทุติยฌานทำให้สงบระงับและสูญไป

ปีติอันตติยฌานทำให้สงบระงับและสูญไป

สุขและทุกข์อันจตุตถฌานทำให้สงบระงับและสูญไป

รูปสัญญา ปฏิฆสัญญา นานัตตสัญญาอันอากาสานัญจายตนสมาบัติทำให้สงบระงับและสูญไป

อากาสานัญจายตนสัญญาอันวิญญาณัญจายตนสมาบัติทำให้สงบระงับและสูญไป

วิญญาณัญจายตนสัญญาเป็นธรรมที่ตัดด้วยอากิญจัญญายตนสมาบัติทำให้สงบระงับและสูญไป

อากิญจัญญายตนสัญญาเป็นธรรมที่ตัดด้วยเนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัติทำให้สงบระงับและสูญไป

กิเลสทั้งปวงอันอรหัตตมรรคทำให้สงบระงับและสูญไป

นี้ชื่อว่า ปฏิปัสสัทธิสุญญะ

๑๐. นิสสรณสุญญะ เป็นอย่างไร

กามฉันทะอันเนกขัมมะสลัดออกแล้วและสูญไป

พยาบาทอันอพยาบาทสลัดออกแล้วและสูญไป

ถีนมิทธะอันอาโลกสัญญาสลัดออกแล้วและสูญไป

อุทธัจจะอันอวิกเขปะสลัดออกแล้วและสูญไป

วิจิกิจฉาอันธัมมววัตถานสลัดออกแล้วและสูญไป

อวิชชาอันญาณสลัดออกแล้วและสูญไป

อรติอันปามุชชะสลัดออกแล้วและสูญไป

นิวรณ์อันปฐมฌานสลัดออกแล้วและสูญไป

วิตกวิจารอันทุติยฌานสลัดออกแล้วและสูญไป

ปีติอันตติยฌานสลัดออกแล้วและสูญไป

สุขและทุกข์อันจตุตถฌานสลัดออกแล้วและสูญไป

รูปสัญญา ปฏิฆสัญญา นานัตตสัญญาอันอากาสานัญจายตนสมาบัติสลัดออกแล้วและสูญไป

อากาสานัญจายตนสัญญาอันวิญญาณัญจายตนสมาบัติสลัดออกแล้วและสูญไป

วิญญาณัญจายตนสัญญาเป็นธรรมที่ตัดด้วยอากิญจัญญายตนสมาบัติสลัดออกแล้วและสูญไป

อากิญจัญญายตนสัญญาเป็นธรรมที่ตัดด้วยเนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัติสลัดออกแล้วและสูญไป

กิเลสทั้งปวงอันอรหัตตมรรคสลัดออกแล้วและสูญไป

นี้ชื่อว่า นิสสรณสุญญะ

๑๑. อัชฌัตตสุญญะ เป็นอย่างไร (ภายในสูญเป็นไฉน)

จักขุ โสตะ ฆานะ ชิวหา กาย มโน ที่เป็นอายตนะภายใน เป็นธรรมว่างจากอัตตา จากสิ่งที่เนื่องด้วยอัตตา จากความเที่ยง จากความยั่งยืน จากความมั่นคง และจากความไม่แปรปรวนเป็นธรรมดา นี้ชื่อว่าอัชฌัตตสุญญะ

๑๒. พหิทธาสุญญะ เป็นอย่างไร (ภายนอกสูญเป็นไฉน)

รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ธรรมารมณ์ที่เป็นอายตนะภายนอก เป็นธรรมว่างจากอัตตา จากสิ่งที่เนื่องด้วยอัตตา จากความเที่ยง จากความยั่งยืน จากความมั่นคง และจากความไม่แปรปรวนเป็นธรรมดา นี้ชื่อว่า พหิทธาสุญญะ

๑๓. ทุภโตสุญญะ เป็นอย่างไร (ทั้งภายในและภายนอกสูญเป็นไฉน)

จักขุ โสตะ ฆานะ ชิวหา กาย มโน ที่เป็นอายตนะภายใน และรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ธรรมารมณ์ ที่เป็นอายตนะภายนอก ทั้งสองนั้น เป็นธรรมว่างจากอัตตา จากสิ่งที่เนื่องด้วยอัตตา จากความเที่ยง จากความยั่งยืน จากความมั่นคง และจากความไม่แปรปรวนเป็นธรรมดา นี้ชื่อว่า ทุภโตสุญญะ

๑๔. สภาคสุญญะ เป็นอย่างไร (ส่วนเสมอกันสูญเป็นไฉน)

อายตนะภายใน ๖ เป็นที่ส่วนเสมอกันและสูญไป

อายตนะภายนอก ๖ เป็นที่ส่วนเสมอกันและสูญไป

หมวดวิญญาณ ๖ เป็นที่ส่วนเสมอกันและสูญไป

หมวดผัสสะ ๖ เป็นที่ส่วนเสมอกันและสูญไป

หมวดเวทนา ๖ เป็นที่ส่วนเสมอกันและสูญไป

หมวดสัญญา ๖ เป็นที่ส่วนเสมอกันและสูญไป

หมวดเจตนา ๖ เป็นที่ส่วนเสมอกันและสูญไป

นี้ชื่อว่าสภาคสุญญะ

๑๕. วิสภาคสุญญะ เป็นอย่างไร (ส่วนไม่เสมอกันสูญเป็นไฉน)

อายตนะภายใน ๖ เป็นส่วนที่ไม่เสมอกันกับอายตนะภายนอก ๖ และสูญไป

อายตนะภายนอก ๖ เป็นส่วนที่ไม่เสมอกันกับหมวดวิญญาณ ๖ และสูญไป

หมวดผัสสะ ๖ เป็นส่วนที่ไม่เสมอกันกับหมวดเวทนา ๖ และสูญไป

หมวดเวทนา ๖ เป็นส่วนที่ไม่เสมอกันกับหมวดสัญญา ๖ และสูญไป

หมวดสัญญา ๖ เป็นส่วนที่ไม่เสมอกันกับหมวดเจตนา ๖ และสูญไป

นี้ชื่อว่าวิสภาคสุญญะ

๑๖. เอสนาสุญญะ เป็นอย่างไร (ความแสวงหาสูญเป็นไฉน)

ความแสวงหาเนกขัมมะ ว่างจากกามฉันทะ

ความแสวงหาอพยาบาท ว่างจากพยาบาท

ความแสวงหาอาโลกสัญญา ว่างจากถีนมิทธะ

ความแสวงหาอวิกเขปะ ว่างจากอุทธัจจะ

ความแสวงหาญาณ ว่างจากอวิชชา

ความแสวงหาธัมมววัตถาน ว่างจากอรติ

ความแสวงหาปฐมฌาน ว่างจากนิวรณ์

ความแสวงหาทุติยฌาน ว่างจากวิตกวิจาร

ความแสวงหาตติยฌาน ว่างจากปีติ

ความแสวงหาจตุตถฌาน ว่างจากสุขและทุกข์

ความแสวงหาอากาสานัญจายตนสมาบัติ ว่างจากรูปสัญญา ปฏิฆสัญญา นานัตตสัญญา

ความแสวงหาวิญญาณัญจายตนสมาบัติ ว่างจากอากาสานัญจายตนสัญญาอัน

ความแสวงหาอากิญจัญญายตนสมาบัติ ว่างจากวิญญาณัญจายตนสัญญา

ความแสวงหาอรหัตตมรรค ว่างจากกิเลสทั้งปวง

นี้ชื่อว่าเอสนาสุญญะ

๑๗. ปริคคหสุญญะ เป็นอย่างไร (ความกำหนดสูญเป็นไฉน)

ความกำหนดเนกขัมมะ ว่างจากกามฉันทะ

ความกำหนดอพยาบาท ว่างจากพยาบาท

ความกำหนดอาโลกสัญญา ว่างจากถีนมิทธะ

ความกำหนดอวิกเขปะ ว่างจากอุทธัจจะ

ความกำหนดญาณ ว่างจากอวิชชา

ความกำหนดธัมมววัตถาน ว่างจากอรติ

ความกำหนดปฐมฌาน ว่างจากนิวรณ์

ความกำหนดทุติยฌาน ว่างจากวิตกวิจาร

ความกำหนดตติยฌาน ว่างจากปีติ

ความกำหนดจตุตถฌาน ว่างจากสุขและทุกข์

ความกำหนดอากาสานัญจายตนสมาบัติ ว่างจากรูปสัญญา ปฏิฆสัญญา นานัตตสัญญา

ความกำหนดวิญญาณัญจายตนสมาบัติ ว่างจากอากาสานัญจายตนสัญญาอัน

ความกำหนดอากิญจัญญายตนสมาบัติ ว่างจากวิญญาณัญจายตนสัญญา

ความกำหนดอรหัตตมรรค ว่างจากกิเลสทั้งปวง

นี้ชื่อว่าปริคคหสุญญะ

๑๘. ปฏิลาภสุญญะ เป็นอย่างไร (ความได้เฉพาะสูญเป็นไฉน)

ความได้เนกขัมมะ ว่างจากกามฉันทะ

ความได้อพยาบาทะ ว่างจากพยาบาท

ความได้อาโลกสัญญา ว่างจากถีนมิทธะ

ความได้อวิกเขปะ ว่างจากอุทธัจจะ

ความได้ญาณ ว่างจากอวิชชา

ความได้ธัมมววัตถาน ว่างจากอรติ

ความได้ปฐมฌาน ว่างจากนิวรณ์

ความได้ทุติยฌาน ว่างจากวิตกวิจาร

ความได้ตติยฌาน ว่างจากปีติ

ความได้จตุตถฌาน ว่างจากสุขและทุกข์

ความได้อากาสานัญจายตนสมาบัติ ว่างจากรูปสัญญา ปฏิฆสัญญา นานัตตสัญญา

ความได้วิญญาณัญจายตนสมาบัติ ว่างจากอากาสานัญจายตนสัญญาอัน

ความได้กิญจัญญายตนสมาบัติ ว่างจากวิญญาณัญจายตนสัญญา

ความได้อรหัตตมรรค ว่างจากกิเลสทั้งปวง

นี้ชื่อว่าปฏิลาภสุญญะ

๑๙. ปฏิเวธสุญญะ เป็นอย่างไร

ความรู้แจ้งแทงตลอดเนกขัมมะ ว่างจากกามฉันทะ

ความรู้แจ้งแทงตลอดอพยาบาท ว่างจากพยาบาท

ความรู้แจ้งแทงตลอดอาโลกสัญญา ว่างจากถีนมิทธะ

ความรู้แจ้งแทงตลอดอวิกเขปะ ว่างจากอุทธัจจะ

ความรู้แจ้งแทงตลอดญาณ ว่างจากอวิชชา

ความรู้แจ้งแทงตลอดธัมมววัตถาน ว่างจากอรติ

ความรู้แจ้งแทงตลอดปฐมฌาน ว่างจากนิวรณ์

ความรู้แจ้งแทงตลอดทุติยฌาน ว่างจากวิตกวิจาร

ความรู้แจ้งแทงตลอดตติยฌาน ว่างจากปีติ

ความรู้แจ้งแทงตลอดจตุตถฌาน ว่างจากสุขและทุกข์

ความรู้แจ้งแทงตลอดอากาสานัญจายตนสมาบัติ ว่างจากรูปสัญญา ปฏิฆสัญญา นานัตตสัญญา

ความรู้แจ้งแทงตลอดวิญญาณัญจายตนสมาบัติ ว่างจากอากาสานัญจายตนสัญญาอัน

ความรู้แจ้งแทงตลอดกิญจัญญายตนสมาบัติ ว่างจากวิญญาณัญจายตนสัญญา

ความรู้แจ้งแทงตลอดอรหัตตมรรค ว่างจากกิเลสทั้งปวง

นี้ชื่อว่าปฏิเวธสุญญะ

๒๐-๒๑. เอกัตตสุญญะ นานัตตสุญญะ เป็นอย่างไร (ความเป็นอย่างเดียวสูญ ความเป็นต่างๆ สูญเป็นไฉน)

กามฉันทะเป็นสภาวะต่าง ๆ เนกขัมมะเป็นสภาวะเดียว เนกขัมมะที่เป็นสภาวะเดียวของบุคคลผู้คิดอยู่ ว่างจากกามฉันทะ

พยาบาทเป็นสภาวะต่าง ๆ อพยาบาทเป็นสภาวะเดียว อพยาบาทที่เป็นสภาวะเดียวของบุคคลผู้คิดอยู่ ว่างจากพยาบาท

ถีนมิทธะเป็นสภาวะต่าง ๆ อาโลกสัญญาเป็นสภาวะเดียว อาโลกสัญญาที่เป็นสภาวะเดียวของบุคคลผู้คิดอยู่ ว่างจากถีนมิทธะ

อุทธัจจะเป็นสภาวะต่าง ๆ อวิกเขปะเป็นสภาวะเดียว อวิกเขปะที่เป็นสภาวะเดียวของบุคคลผู้คิดอยู่ ว่างจากอุทธัจจะ

วิจิกิจฉาเป็นสภาวะต่าง ๆ ธัมมววัตถานเป็นสภาวะเดียว ธัมมววัตถานที่เป็นสภาวะเดียวของบุคคลผู้คิดอยู่ ว่างจากวิจิกิจฉา

อวิชชาเป็นสภาวะต่าง ๆ ญาณเป็นสภาวะเดียว ญาณที่เป็นสภาวะเดียวของบุคคลผู้คิดอยู่ ว่างจากอวิชชา

อรติเป็นสภาวะต่าง ๆ ปามุชชะเป็นสภาวะเดียว ปามุชชะที่เป็นสภาวะเดียวของบุคคลผู้คิดอยู่ ว่างจากอรติ

นิวรณ์เป็นสภาวะต่าง ๆ ปฐมฌานเป็นสภาวะเดียว ปฐมฌานที่เป็นสภาวะเดียวของบุคคลผู้คิดอยู่ ว่างจากนิวรณ์ ฯลฯ

กิเลสทั้งปวงเป็นสภาวะต่าง ๆ อรหัตตมรรคเป็นสภาวะเดียว อรหัตตมรรคที่เป็นสภาวะเดียวของบุคคลผู้คิดอยู่ ว่างจากกิเลสทั้งปวง

นี้ชื่อว่าเอกัตตสุญญะ นานัตตสุญญะ

๒๒. ขันติสุญญะ เป็นอย่างไร

ความชอบใจในเนกขัมมะ ว่างจากกามฉันทะ

ความชอบใจในอพยาบาท ว่างจากพยาบาท

ความชอบใจในอาโลกสัญญา ว่างจากถีนมิทธะ

ความชอบใจในอวิกเขปะ ว่างจากอุทธัจจะ

ความชอบใจในญาณ ว่างจากอวิชชา

ความชอบใจในธัมมววัตถาน ว่างจากอรติ

ความชอบใจในปฐมฌาน ว่างจากนิวรณ์ ฯลฯ

ความชอบใจในอรหัตตมรรค ว่างจากกิเลสทั้งปวง

นี้ชื่อว่าขันติสุญญะ

๒๓. อธิษฐานสุญญะ เป็นอย่างไร

ความอธิษฐานในเนกขัมมะ ว่างจากกามฉันทะ

ความอธิษฐานในอพยาบาท ว่างจากพยาบาท

ความอธิษฐานในอาโลกสัญญา ว่างจากถีนมิทธะ

ความอธิษฐานในอวิกเขปะ ว่างจากอุทธัจจะ

ความอธิษฐานในญาณ ว่างจากอวิชชา

ความอธิษฐานในธัมมววัตถาน ว่างจากอรติ

ความอธิษฐานในปฐมฌาน ว่างจากนิวรณ์ ฯลฯ

ความอธิษฐานในอรหัตตมรรค ว่างจากกิเลสทั้งปวง

นี้ชื่อว่าอธิฏฐานสุญญะ

๒๔. ปริโยคาหนสุญญะ เป็นอย่างไร

เนกขัมมะที่หยั่งลง ว่างจากกามฉันทะ

อพยาบาทที่หยั่งลง ว่างจากพยาบาท

อาโลกสัญญาที่หยั่งลง ว่างจากถีนมิทธะ

อวิกเขปะที่หยั่งลง ว่างจากอุทธัจจะ

ญาณที่หยั่งลง ว่างจากอวิชชา

ธัมมววัตถานที่หยั่งลง ว่างจากอรติ

ปฐมฌานที่หยั่งลง ว่างจากนิวรณ์ ฯลฯ

อรหัตตมรรคที่หยั่งลง ว่างจากกิเลสทั้งปวง

นี้ชื่อว่าปริโยคาหนสุญญะ

๒๕. ความว่างขั้นสูงสุดของความว่างทั้งปวง คือ การที่บุคคลผู้มีสัมปชัญญะทำความเป็นไปแห่งกิเลสให้สิ้นไป เป็นอย่างไร

บุคคลผู้มีสัมปชัญญะในโลกนี้ ทำความเป็นไปแห่งกามฉันทะให้สิ้นไปด้วยเนกขัมมะ

ทำความเป็นไปแห่งพยาบาทให้สิ้นไปด้วยอพยาบาท

ทำความเป็นไปแห่งถีนมิทธะให้สิ้นไปด้วยอาโลกสัญญา

ทำความเป็นไปแห่งอุทธัจจะให้สิ้นไปด้วยอวิกเขปะ

ทำความเป็นไปแห่งวิจิกิจฉาให้สิ้นไปด้วยธัมมววัตถาน

ทำความเป็นไปแห่งอวิชชาให้สิ้นไปด้วยญาณ

ทำความเป็นไปแห่งอรติให้สิ้นไปด้วยปามุชชะ

ทำความเป็นไปแห่งนิวรณ์ให้สิ้นไปด้วยปฐมฌาน ฯลฯ

ทำความเป็นไปแห่งกิเลสทั้งปวงให้สิ้นไปด้วยอรหัตตมรรค

อีกนัยหนึ่ง ความเป็นไปแห่งจักขุ โสตะ ฆานะ ชิวหา กาย มโน ของบุคคลผู้มีสัมปชัญญะ ผู้ปรินิพพานด้วยอนุปาทิเสสนิพพานธาตุย่อมสิ้นไป และความเป็นไปแห่งจักขุ โสตะ ฆานะ ชิวหา กาย มโน อื่นก็ไม่เกิดขึ้น

นี้ชื่อว่าความว่างขั้นสูงสุดของความว่างทั้งปวง คือ การที่บุคคลผู้มีสัมปชัญญะทำความเป็นไปแห่งกิเลสให้สิ้นไป ฉะนี้

 

 

อ้างอิง:
ยุคนันธวรรค สุญกถา ปฏิสัมภิทามรรค พระไตรปิฎก ฉบับหลวงและฉบับเฉลิมพระเกียรติ เล่มที่ ๓๑ ข้อที่ ๖๓๔-๖๕๘ ฉบับมหาจุฬา เล่มที่ ๓๑ ข้อที่ ๔๗-๔๘
 
 
 

คำต่อไป