Main navigation
สสังขารปรินิพพายี
Share:

(๑) สสังขารปรินิพพายีคือ อริยบุคคล ระดับ อนาคามี

บุคคลบางคนในโลกนี้ เพราะสังโยชน์เบื้องต่ำทั้ง ๕ ประการสิ้นไป เป็นโอปปาติกะ ปรินิพพานในชั้นสุทธาวาสนั้น ไม่กลับมาจากภพนั้นเป็นธรรมดา บุคคลนั้นยังอริยมรรคให้เกิดขึ้นโดยต้องใช้ความพยายามมากเพื่อละสังโยชน์เบื้องสูง บุคคลนี้เรียกว่า ผู้เป็นสสังขารปรินิพพายี

พระอนาคามี - สสังขารปรินิพพายี

 

(๒) บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นสสังขารปรินิพพายีจะปรินิพพานด้วยต้องใช้ความเพียรเรี่ยวแรงในปัจจุบันเทียว บางคนเมื่อกายแตกจึงเป็นสสังขารปรินิพพายี

ก็บุคคลเป็นสสังขารปรินิพพายีในปัจจุบันอย่างไร

ภิกษุในธรรมวินัยนี้ พิจารณาเห็นในกายว่าไม่งาม มีความสำคัญในอาหารว่าปฏิกูล มีความสำคัญในโลกทั้งปวงว่าไม่น่ายินดี พิจารณาเห็นในสังขารทั้งปวงว่าไม่เที่ยง และมรณสัญญาของเธอตั้งอยู่ดีแล้วในภายใน

เธออาศัยธรรมเป็นกำลังของพระเสขะ ๕ ประการนี้อยู่ คือ ศรัทธา หิริ โอตตัปปะ วิริยะ ปัญญา อินทรีย์ ๕ ประการนี้ คือ สัทธินทรีย์ วิริยินทรีย์ สตินทรีย์ สมาธินทรีย์ ปัญญินทรีย์ของเธอปรากฏว่าแก่กล้า เธอย่อมเป็นสสังขารปรินิพพายีในปัจจุบันเทียว เพราะอินทรีย์ ๕ ประการนี้แก่กล้า

บุคคลเป็นสสังขารปรินิพพายีในปัจจุบันอย่างนี้แล


ก็บุคคลเมื่อกายแตกจึงเป็นสสังขารปรินิพพายีอย่างไร

ภิกษุในธรรมวินัยนี้ พิจารณาเห็นในกายว่าไม่งาม มีความสำคัญในอาหารว่าปฏิกูล มีความสำคัญในโลกทั้งปวงว่าไม่น่ายินดี พิจารณาเห็นในสังขารทั้งปวงว่าไม่เที่ยง และมรณสัญญาของเธอตั้งอยู่ดีแล้วในภายใน

เธออาศัยธรรมเป็นกำลังของพระเสขะ ๕ ประการนี้อยู่ คือ ศรัทธา หิริ โอตตัปปะ วิริยะ ปัญญา แต่อินทรีย์ ๕ ประการนี้ คือ สัทธินทรีย์ วิริยินทรีย์ สตินทรีย์ สมาธินทรีย์ ปัญญินทรีย์ ของเธอปรากฏว่าอ่อน เธอเมื่อกายแตก จึงเป็นสสังขารปรินิพพายี เพราะอินทรีย์ ๕ ประการนี้อ่อน

บุคคลเมื่อกายแตกจึงเป็นสสังขารปรินิพพายีอย่างนี้แล

 

 

อ้างอิง:
(๑) เอกกนิทเทส พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๓๖ ข้อที่ ๕๕ หน้า ๑๑๒
(๒) ปฏิปทาวรรคที่ ๒ พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๒๑ ข้อที่ ๑๖๙ หน้า ๑๕๑-๑๕๒

 

คำต่อไป