ปัญญาเครื่องความเป็นผู้ใคร่จะพ้นไปเสีย ทั้งพิจารณาหาทาง และวางเฉยอยู่ เป็นสังขารุเปกขาญาณอย่างไร
ปัญญาเครื่องความเป็นผู้ใคร่จะพ้นไปเสียจากความเกิดขึ้น จากความเป็นไป จากสังขารนิมิต จากกรรมเครื่องประมวลมา จากปฏิสนธิ จากคติ จากความบังเกิด จากความอุบัติ จากชาติ จากชรา จากพยาธิ จากมรณะ จากความโศก จากความรำพัน จากความคับแค้นใจ ทั้งพิจารณาหาทางและวางเฉยอยู่ เป็นสังขารุเปกขาญาณแต่ละอย่าง ๆ
ปัญญาเครื่องความเป็นผู้ใคร่จะพ้นไปเสีย ทั้งพิจารณาหาทาง แลวางเฉยอยู่ว่า ความเกิดขึ้นเป็นทุกข์ ความเป็นไปเป็นทุกข์ สังขารนิมิตเป็นทุกข์ กรรมเครื่องประมวลมาเป็นทุกข์ ปฏิสนธิเป็นทุกข์ คติเป็นทุกข์ ความบังเกิดเป็นทุกข์ ความอุบัติเป็นทุกข์ ชาติเป็นทุกข์ ชราเป็นทุกข์ พยาธิเป็นทุกข์ มรณะเป็นทุกข์ ความโศกเป็นทุกข์ ความรำพันเป็นทุกข์ ความคับแค้นใจเป็นทุกข์ เป็นสังขารุเปกขาญาณแต่ละอย่าง ๆ
ปัญญาเครื่องความเป็นผู้ใคร่จะพ้นไปเสีย ทั้งพิจารณาหาทาง และวางเฉยอยู่ว่า ความเกิดขึ้นเป็นภัย ความเป็นไปเป็นภัย สังขารนิมิตเป็นภัย กรรมเครื่องประมวลมาเป็นภัย ปฏิสนธิเป็นภัย คติเป็นภัย ความบังเกิดเป็นภัย ความอุบัติเป็นภัย ชาติเป็นภัย ชราเป็นภัย พยาธิเป็นภัย มรณะเป็นภัย ความโศกเป็นภัย ความรำพันเป็นภัย ความคับแค้นใจเป็นภัย เป็นสังขารุเปกขาญาณแต่ละอย่าง ๆ
ปัญญาเครื่องความเป็นผู้ใคร่จะพ้นไปเสีย ทั้งพิจารณาหาทาง และวางเฉยอยู่ว่า ความเกิดขึ้นมีอามิส ความเป็นไปมีอามิส สังขารนิมิตมีอามิส กรรมเครื่องประมวลมามีอามิส ปฏิสนธิมีอามิส คติมีอามิส ความบังเกิดมีอามิส ความอุบัติมีอามิส ชาติมีอามิส ชรามีอามิส พยาธิมีอามิส มรณะมีอามิส ความโศกมีอามิส ความรำพันมีอามิส ความคับแค้นใจมีอามิส
ปัญญาเครื่องความเป็นผู้ใคร่จะพ้นไปเสีย ทั้งพิจารณาหาทาง แลวางเฉยอยู่ว่า ความเกิดขึ้นเป็นสังขาร ความเป็นไปเป็นสังขาร สังขารนิมิตเป็นสังขาร กรรมเครื่องประมวลมาเป็นสังขาร ปฏิสนธิเป็นสังขาร คติเป็นสังขาร ความบังเกิดเป็นสังขาร ความอุบัติเป็นสังขาร ชาติเป็นสังขาร ชราเป็นสังขาร พยาธิเป็นสังขาร มรณะเป็นสังขาร ความโศกเป็นสังขาร ความรำพันเป็นสังขาร ความคับแค้นใจเป็นสังขาร เป็นสังขารุเปกขาญาณแต่ละอย่าง ๆ
ความเกิดขึ้นเป็นสังขาร ญาณวางเฉยสังขารเหล่านั้น เพราะเหตุนั้นจึงชื่อว่าสังขารุเปกขาญาณ
แม้ธรรม ๒ ประการนี้ คือ สังขารและอุเบกขาก็เป็นสังขาร ญาณวางเฉยสังขารเหล่านั้น เพราะเหตุนั้นจึงชื่อว่าสังขารุเปกขาญาณ
ความเป็นไปเป็นสังขาร ญาณวางเฉยสังขารเหล่านั้น เพราะเหตุนั้นจึงชื่อว่าสังขารุเปกขาญาณ
นิมิตเป็นสังขาร เพราะเหตุนั้นจึงชื่อว่าสังขารุเปกขาญาณ
กรรมเครื่องประมวลมาเป็นสังขาร เพราะเหตุนั้นจึงชื่อว่าสังขารุเปกขาญาณ
ปฏิสนธิเป็นสังขาร เพราะเหตุนั้นจึงชื่อว่าสังขารุเปกขาญาณ
คติเป็นสังขาร เพราะเหตุนั้นจึงชื่อว่าสังขารุเปกขาญาณ
ความบังเกิดเป็นสังขาร เพราะเหตุนั้นจึงชื่อว่าสังขารุเปกขาญาณ
ความอุบัติเป็นสังขาร เพราะเหตุนั้นจึงชื่อว่าสังขารุเปกขาญาณ
ชาติเป็นสังขาร เพราะเหตุนั้นจึงชื่อว่าสังขารุเปกขาญาณ
ชราเป็นสังขาร เพราะเหตุนั้นจึงชื่อว่าสังขารุเปกขาญาณ
พยาธิเป็นสังขาร เพราะเหตุนั้นจึงชื่อว่าสังขารุเปกขาญาณ
มรณะเป็นสังขาร เพราะเหตุนั้นจึงชื่อว่าสังขารุเปกขาญาณ
ความโศกเป็นสังขาร เพราะเหตุนั้นจึงชื่อว่าสังขารุเปกขาญาณ
ความรำพันเป็นสังขาร เพราะเหตุนั้นจึงชื่อว่าสังขารุเปกขาญาณ
ความคับแค้นใจเป็นสังขาร ญาณวางเฉยสังขารเหล่านั้น เพราะเหตุนั้นจึงชื่อว่าสังขารุเปกขาญาณ
แม้ธรรม ๒ ประการ คือ สังขารและอุเบกขา ก็เป็นสังขาร ญาณวางเฉยสังขารเหล่านั้น เพราะเหตุนั้นจึงชื่อว่าสังขารุเปกขาญาณ
การน้อมจิตไปในสังขารุเปกขา ย่อมมีได้ด้วยอาการ ๘
การน้อมจิตไปในสังขารุเปกขาของปุถุชน ย่อมมีได้ด้วยอาการ ๒
ปุถุชนย่อมยินดีสังขารุเปกขา ๑
ย่อมเห็นแจ้งสังขารุเปกขา ๑
การน้อมจิตไปในสังขารุเปกขาของปุถุชน ย่อมมีได้ด้วยอาการ ๒ นี้
การน้อมจิตไปในสังขารุเปกขาของพระเสขะ ย่อมมีได้ด้วยอาการ ๓
พระเสขะย่อมยินดีสังขารุเปกขา ๑
ย่อมเห็นแจ้งสังขารุเปกขา ๑
พิจารณาแล้วเข้าผลสมาบัติ ๑
การน้อมจิตไปในสังขารุเปกขาของพระเสขะ ย่อมมีได้ด้วยอาการ ๓ นี้
การน้อมจิตไปในสังขารุเปกขาของท่านผู้ปราศจากราคะ ย่อมมีได้ด้วยอาการ ๓
ท่านผู้ปราศจากราคะย่อมเห็นแจ้งสังขารุเปกขา ๑
พิจารณาแล้วเข้าผลสมาบัติ ๑
วางเฉยสังขารุเปกขานั้นแล้ว ย่อมอยู่ด้วยสุญญตวิหารสมาบัติ อนิมิตตวิหารสมาบัติ หรืออัปปณิหิตวิหารสมาบัติ ๑
การน้อมจิตไปในสังขารุเปกขาของท่านผู้ปราศจากราคะย่อมมีได้ด้วยอาการ ๓ นี้
การน้อมจิตไปในสังขารุเปกขาของปุถุชนและของพระเสขะ เป็นอย่างเดียวกันอย่างไร
ปุถุชนยินดีสังขารุเปกขา มีจิตเศร้าหมอง มีอันตรายแห่งภาวนา มีอันตรายแห่งปฏิเวธ มีปัจจัยแห่งปฏิสนธิต่อไป
แม้พระเสขะยินดีสังขารุเปกขาก็มีจิตเศร้าหมอง มีอันตรายแห่งภาวนา มีอันตรายแห่งปฏิเวธในมรรคชั้นสูง มีปัจจัยแห่งปฏิสนธิต่อไป
การน้อมจิตไปในสังขารุเปกขาของปุถุชนและของพระเสขะเป็นอย่างเดียวกันโดยสภาพแห่งความยินดีอย่างนี้
การน้อมจิตไปในสังขารุเปกขาของปุถุชน ของพระเสขะ และของท่านผู้ปราศจากราคะ เป็นอย่างเดียวกันอย่างไร
ปุถุชนย่อมพิจารณาเห็นสังขารุเปกขาโดยความเป็นของไม่เที่ยงเป็นทุกข์และเป็นอนัตตา
แม้พระเสขะก็พิจารณาเห็นสังขารุเปกขาโดยความเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ และเป็นอนัตตา
แม้ท่านผู้ปราศจากราคะ ก็พิจารณาเห็นสังขารุเปกขาโดยความเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ และเป็นอนัตตา
การน้อมจิตไปในสังขารุเปกขาของปุถุชน ของพระเสขะ และของท่านผู้ปราศจากราคะ เป็นอย่างเดียวกันโดยสภาพแห่งการพิจารณาอย่างนี้
การน้อมจิตไปในสังขารุเปกขาของปุถุชน ของพระเสขะ และของท่านผู้ปราศจากราคะ มีความต่างกันอย่างไร
สังขารุเปกขาของปุถุชนเป็นกุศล แม้ของพระเสขะก็เป็นกุศล แต่ของท่านผู้ปราศจากราคะเป็นอัพยากฤต
การน้อมจิตไปในสังขารุเปกขาของปุถุชน ของพระเสขะ และของท่านผู้ปราศจากราคะ มีความต่างกันโดยสภาพเป็นกุศลและอัพยากฤตอย่างนี้
สังขารุเปกขาของปุถุชนปรากฏดีในกาลนิดหน่อย (ในเวลาเจริญวิปัสสนา) ไม่ปรากฏดีในกาลนิดหน่อย
แม้สังขารุเปกขาของพระเสขะ ก็ปรากฏดีในการนิดหน่อย
สังขารุเปกขาของท่านผู้ปราศจากราคะ ปรากฏดีโดยส่วนเดียว
การน้อมจิตไปในสังขารุเปกขาของปุถุชน ของพระเสขะและของท่านผู้ปราศจากราคะ มีความต่างกันโดยสภาพที่ปรากฏและโดยภาพที่ไม่ปรากฏอย่างนี้
ปุถุชนย่อมพิจารณาเพราะเป็นผู้ยังไม่เสร็จกิจจากสังขารุเปกขา
แม้พระเสขะก็พิจารณาเพราะเป็นผู้ยังไม่เสร็จกิจจากสังขารุเปกขา
ส่วนท่านผู้ปราศจากราคะย่อมพิจารณาเพราะเป็นผู้เสร็จกิจจากสังขารุเปกขา
การน้อมจิตไปในสังขารุเปกขาของปุถุชนของพระเสขะและของท่านผู้ปราศจากราคะ มีความต่างกันโดยสภาพที่ยังไม่เสร็จกิจและโดยสภาพที่เสร็จกิจแล้วอย่างนี้
ปุถุชนย่อมพิจารณาสังขารุเปกขาเพื่อจะละสังโยชน์ ๓ เพื่อต้องการได้โสดาปัตติมรรค
พระเสขะย่อมพิจารณาสังขารุเปกขาเพื่อต้องการได้มรรคชั้นสูงขึ้นไป เพราะเป็นผู้ละสังโยชน์ ๓ ได้แล้ว
ท่านผู้ปราศจากราคะย่อมพิจารณาสังขารุเปกขา เพื่อต้องการอยู่เป็นสุขในปัจจุบัน เพราะเป็นผู้ละกิเลสทั้งปวงได้แล้ว
การน้อมจิตไปในสังขารุเปกขาของปุถุชน ของพระเสขะ และของท่านผู้ปราศจากราคะ มีความต่างกันโดยสภาพที่ละกิเลสได้แล้วและโดยสภาพที่ยังละกิเลสไม่ได้อย่างนี้
พระเสขะยังยินดีสังขารุเปกขาบ้าง ย่อมเห็นแจ้งสังขารุเปกขาบ้างพิจารณาแล้วเข้าผลสมาบัติบ้าง
ท่านผู้ปราศจากราคะย่อมเห็นแจ้งสังขารุเปกขาบ้าง พิจารณาแล้วเข้าผลสมาบัติบ้าง วางเฉยสังขารุเปกขานั้นแล้ว ย่อมอยู่ด้วยสุญญตวิหารสมาบัติ อนิมิตตวิหารสมาบัติ หรืออัปปณิหิตวิหารสมาบัติ
การน้อมจิตไปในสังขารุเปกขาของพระเสขะและของท่านผู้ปราศจากราคะ มีความต่างกันโดยสภาพแห่งวิหารสมาบัติอย่างนี้
สังขารุเปกขา ๘ ย่อมเกิดขึ้นด้วยอำนาจสมถะ สังขารุเปกขา ๑๐ ย่อมเกิดขึ้นด้วยอำนาจวิปัสสนา
สังขารุเปกขา ๘ ย่อมเกิดขึ้นด้วยอำนาจสมถะเป็นไฉน
ปัญญาที่พิจารณาหาทางแล้ววางเฉยนิวรณ์ เพื่อต้องการได้ปฐมฌาน เป็นสังขารุเปกขาญาณ ๑
ปัญญาที่พิจารณาหาทางแล้ววางเฉยวิตกวิจาร เพื่อต้องการได้ทุติยฌาน เป็นสังขารุเปกขาญาณ ๑
ปัญญาที่พิจารณาหาทางแล้ววางเฉยปีติ เพื่อต้องการได้ตติยฌาน เป็นสังขารุเปกขาญาณ ๑
ปัญญาที่พิจารณาหาทางแล้ววางเฉยสุขและทุกข์เพื่อต้องการได้จตุตถฌาน เป็นสังขารุเปกขาญาณ ๑
ปัญญาที่พิจารณาหาทางแล้ววางเฉยรูปสัญญา ปฏิฆสัญญา (และ) นานัตตสัญญา เพื่อต้องการได้อากาสานัญจายตนสมาบัติ เป็นสังขารุเปกขาญาณ ๑
ปัญญาที่พิจารณาหาทางแล้ววางเฉยอากาสานัญจายตนสัญญา เพื่อต้องการได้วิญญาณัญจายตนสมาบัติ เป็นสังขารุเปกขาญาณ ๑
ปัญญาที่พิจารณาหาทางแล้ววางเฉยวิญญาณัญจายตนสัญญา เพื่อต้องการได้อากิญจัญญายตนสมาบัติ เป็นสังขารุเปกขาญาณ ๑
ปัญญาที่พิจารณาหาทางแล้ววางเฉยอากิญจัญญายตนสัญญา เพื่อต้องการได้เนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัติ เป็นสังขารุเปกขาญาณ ๑
สังขารุเปกขา ๘ เหล่านี้ ย่อมเกิดขึ้นด้วยอำนาจสมถะ
สังขารุเปกขา ๑๐ เป็นไฉน ย่อมเกิดขึ้นด้วยอำนาจวิปัสสนา
ปัญญาที่พิจารณาหาทางแล้ววางเฉยความเกิดขึ้น ความเป็นไป นิมิต กรรมเครื่องประมวลมา ปฏิสนธิ คติ ความบังเกิด อุบัติ ชาติ ชรา พยาธิ มรณะ ความโศก ความรำพัน ความคับแค้นใจ เพื่อต้องการได้โสดาปัตติมรรค เป็นสังขารุเปกขาญาณ ๑
...เพื่อต้องการได้โสดาปัตติผลสมาบัติ เป็นสังขารุเปกขาญาณ ๑
...เพื่อต้องการได้สกทาคามิมรรค เป็นสังขารุเปกขาญาณ ๑
...เพื่อต้องการได้สกทาคามิผลสมาบัติ เป็นสังขารุเปกขาญาณ ๑
...เพื่อต้องการได้อนาคามิมรรค เป็นสังขารุเปกขาญาณ ๑
...เพื่อต้องการได้อนาคามิผลสมาบัติ เป็นสังขารุเปกขาญาณ ๑
...เพื่อต้องการได้อรหัตมัค เป็นสังขารุเปกขาญาณ ๑
...เพื่อต้องการได้อรหัตผลสมาบัติ เป็นสังขารุเปกขาญาณ ๑
...เพื่อต้องการสุญญตวิหารสมาบัติ สังขารุเปกขาญาณ ๑
ปัญญาที่พิจารณาหาทางแล้ววางเฉยความเกิดขึ้น ความเป็นไป นิมิต กรรมเครื่องประมวลมา ปฏิสนธิ คติ ความบังเกิด อุบัติ ชาติ ชรา พยาธิ มรณะ ความโศก ความรำพัน ความคับแค้นใจ เพื่อต้องการได้อนิมิตตวิหารสมาบัติ เป็นสังขารุเปกขาญาณ ๑
สังขารุเปกขาญาณ ๑๐ เหล่านี้ ย่อมเกิดขึ้นด้วยอำนาจวิปัสสนา
สังขารุเปกขาเป็นกุศล ๑๕(๑) เป็นอัพยากฤต ๓(๒) เป็นอกุศลไม่มี
ปัญญาที่พิจารณาหาทางแล้ววางเฉย เป็นโคจรภูมิของสมาธิจิต ๘
- เป็นโคจรภูมิของปุถุชน ๒(๓)
- เป็นโคจรภูมิของพระเสขะ ๓(๔)
- เป็นเครื่องให้จิตของท่านผู้ปราศจากราคะหลีกไป ๓(๕)
เป็นปัจจัยแห่งสมาธิ ๘
เป็นโคจรแห่งภูมิแห่งญาณ ๑๐
สังขารุเปกขา ๘ เป็นปัจจัยแห่งวิโมกข์ ๓ อาการ ๑๘ นี้ พระโยคาวจรอบรมแล้วด้วยปัญญา พระโยคาวจรผู้ฉลาดในสังขารุเปกขา ย่อมไม่หวั่นไหวเพราะทิฐิต่าง ๆ ฉะนี้แล
ชื่อว่าญาณ เพราะอรรถว่ารู้ธรรมนั้น ชื่อว่าปัญญา เพราะอรรถว่ารู้ชัด เพราะเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า ปัญญาเครื่องความเป็นผู้ใคร่จะพ้นไปทั้งพิจารณาหาทางและวางเฉย เป็นสังขารุเปกขาญาณ
(๑) สังขารุเบกขาเป็นกุศลมี ๑๕ ได้แก่ ด้วยสมถะ ๘ และด้วยมรรค ๔ ผล ๓ เป็น ๗ รวมเป็น ๑๕
(๒) พระอรหันต์ผู้เข้าผลสมาบัติ ไม่สามารถเข้าสมาบัติ เว้นสังขารุเบกขาได้ เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวสังขารุเบกขา ๓ ว่าเป็นอัพยากฤต จริงอยู่ ชื่อว่าสังขารุเบกขา ๓ ของพระอรหันต์ย่อมมีด้วยสามารถอัปปณิหิตะ สุญญตะและอนิมิตตะ
(๓) โคจรภูมิของปุถุชน ๒ คือด้วยสามารถแห่งสมถะและวิปัสสนา
(๔) โคจรของพระเสกขะ ๓ ได้แก่ ด้วยสามารถแห่งสมถะวิปัสสนาและสมาบัติ
(๕) โคจรของผู้ปราศจากราคะ ๓ ได้แก่ ด้วยสามารถแห่งผลสมาบัติอันเป็นอัปปณิหิตะ สุญญตะและอนิมิตตะ