(๑) สักกายทิฏฐิ เป็นหนึ่งในสังโยชน์ ๓ ที่โสดาปัตติมรรคประหาร
สักกายทิฏฐิ เป็นไฉน
ปุถุชนในโลกนี้ ผู้ไร้การศึกษา ไม่ได้เห็นพระอริยเจ้า ไม่ฉลาดในธรรมของพระอริยเจ้า ไม่ได้ฝึกฝนในธรรมของพระอริยเจ้า ไม่ได้เห็นสัตบุรุษไม่ฉลาดในธรรมของสัตบุรุษ ไม่ได้ฝึกฝนในธรรมของสัตบุรุษ
ย่อมเห็นรูปเป็นตน หรือเห็นตนมีรูป เห็นรูปในตน เห็นตนในรูป
ย่อมเห็นเวทนาเป็นตน หรือเห็นตนมีเวทนา เห็นเวทนาในตน เห็นตนในเวทนา
ย่อมเห็นสัญญาเป็นตน หรือเห็นตนมีสัญญา เห็นสัญญาในตน เห็นตนในสัญญา
ย่อมเห็นสังขารเป็นตน หรือเห็นตนมีสังขาร เห็นสังขารในตน เห็นตนในสังขาร
ย่อมเห็นวิญญาณเป็นตน หรือเห็นตนมีวิญญาณ เห็นวิญญาณในตน เห็นตนในวิญญาณ
นี้เรียกว่า สักกายทิฏฐิ
(๒) สักกายทิฏฐิมีวัตถุ ๒๐
ย่อมเห็นรูปเป็นตน หรือเห็นตนมีรูป เห็นรูปในตน เห็นตนในรูป
ย่อมเห็นเวทนาเป็นตน หรือเห็นตนมีเวทนา เห็นเวทนาในตน เห็นตนในเวทนา
ย่อมเห็นสัญญาเป็นตน หรือเห็นตนมีสัญญา เห็นสัญญาในตน เห็นตนในสัญญา
ย่อมเห็นสังขารเป็นตน หรือเห็นตนมีสังขาร เห็นสังขารในตน เห็นตนในสังขาร
ย่อมเห็นวิญญาณเป็นตน หรือเห็นตนมีวิญญาณ เห็นวิญญาณในตน เห็นตนในวิญญาณ
(๓) ปุถุชนย่อมเห็นรูปโดยความเป็นตนอย่างไร
บุคคลบางคนในโลกนี้ ย่อมเห็นปฐวี (ธาตุดิน) กสิณโดยความเป็นตน คือ ย่อมเห็นปฐวีกสิณและตนไม่เป็นสองว่า ปฐวีกสิณกสิณอันใด เราก็อันนั้น เราอันใด ปฐวีกสิณก็อันนั้น
บุคคลบางคนในโลกนี้ ย่อมเห็นอาโป (ธาตุน้ำ) กสิณโดยความเป็นตน คือ ย่อมเห็นอาโปกสิณและตนไม่เป็นสองว่า อาโปกสิณกสิณอันใด เราก็อันนั้น เราอันใด อาโปกสิณก็อันนั้น
บุคคลบางคนในโลกนี้ ย่อมเห็นเตโช (ธาตุไฟ) กสิณโดยความเป็นตน คือ ย่อมเห็นเตโชกสิณและตนไม่เป็นสองว่า เตโชกสิณอันใด เราก็อันนั้น เราอันใด เตโชกสิณก็อันนั้น
บุคคลบางคนในโลกนี้ ย่อมเห็นวาโย (ธาตุลม) กสิณโดยความเป็นตน คือ ย่อมเห็นวาโยกสิณและตนไม่เป็นสองว่า วาโยกสิณอันใด เราก็อันนั้น เราอันใด วาโยกสิณก็อันนั้น
บุคคลบางคนในโลกนี้ ย่อมเห็นโลหิต (สีแดง) กสิณโดยความเป็นตน คือ ย่อมเห็นโลหิตกสิณและตนไม่เป็นสองว่า โลหิตกสิณอันใด เราก็อันนั้น เราอันใด โลหิตกสิณก็อันนั้น
บุคคลบางคนในโลกนี้ ย่อมเห็นนีล (สีเขียว) กสิณโดยความเป็นตน คือ ย่อมเห็นนีลกสิณและตนไม่เป็นสองว่า นีลกสิณอันใด เราก็อันนั้น เราอันใด นีลกสิณก็อันนั้น
บุคคลบางคนในโลกนี้ ย่อมเห็นปีตก (สีเหลือง) กสิณโดยความเป็นตน คือ ย่อมเห็นปีตกกสิณและตนไม่เป็นสองว่า ปีตกกสิณอันใด เราก็อันนั้น เราอันใด ปีตกกสิณก็อันนั้น
บุคคลบางคนในโลกนี้ ย่อมเห็นโอทาตก (สีขาว) กสิณโดยความเป็นตน คือ ย่อมเห็นโอทาตกกสิณและตนไม่เป็นสองว่า โอทาตกกสิณอันใด เราก็อันนั้น เราอันใด โอทาตกกสิณก็อันนั้น
เปรียบเหมือนเมื่อประทีปน้ำมันกำลังลุกโพลงอยู่ บุคคลเห็นเปลวไฟและแสงสว่างไม่เป็นสองว่า เปลวไฟอันใด แสงสว่างก็อันนั้น แสงสว่างอันใด เปลวไฟก็อันนั้น
นี้เป็นสักกายทิฐิมีรูปเป็นวัตถุที่ ๑ ปุถุชนย่อมเห็นรูปโดยความเป็นตนอย่างนี้
ทิฐิ คือ ความลูบคลำด้วยความถือผิด สักกายทิฐิ มีความถือผิดด้วยอาการ ๒๐ คือ
ความลูบคลำด้วยความถือผิดว่า
ย่อมเห็นรูปโดยความเป็นตนบ้าง
เห็นตนว่ามีรูปบ้าง
เห็นรูปในตนบ้าง
เห็นตนในรูปบ้าง
ย่อมเห็นเวทนาโดยความเป็นตนบ้าง
เห็นตนว่ามีเวทนาบ้าง
เห็นเวทนาในตนบ้าง
เห็นเวทนาในเวทนาบ้าง
ย่อมเห็นสัญญาโดยความเป็นตนบ้าง
เห็นตนว่ามีสัญญาบ้าง
เห็นสัญญาในตนบ้าง
เห็นตนในสัญญาบ้าง
ย่อมเห็นสังขารโดยความเป็นตนบ้าง
เห็นตนว่ามีสังขารบ้าง
เห็นสังขารในตนบ้าง
เห็นตนในสังขารบ้าง
ย่อมเห็นวิญญาณโดยความเป็นตนบ้าง
เห็นตนว่ามีวิญญาณบ้าง
เห็นวิญญาณในตนบ้าง
เห็นตนในวิญญาณบ้าง
สักกายทิฐิมีความถือผิดด้วยอาการ ๒๐ เหล่านี้
(๔) บุคคลรู้อยู่อย่างไร เห็นอยู่อย่างไร จึงจะละสักกายทิฐิได้
บุคคลรู้ เห็นจักษุ โดยความเป็นทุกข์ จึงจะละสักกายทิฐิได้
รู้ เห็นรูป โดยความเป็นทุกข์ จึงจะละสักกายทิฐิได้
รู้ เห็นจักษุวิญญาณ โดยความเป็นทุกข์ จึงจะละสักกายทิฐิได้
รู้ เห็นจักษุสัมผัส โดยความเป็นทุกข์ จึงจะละสักกายทิฐิได้
รู้ เห็นแม้สุขเวทนา ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนาที่เกิดขึ้นเพราะจักษุสัมผัสเป็นปัจจัย โดยความเป็นทุกข์ จึงจะละสักกายทิฐิได้
บุคคลรู้ เห็นหู โดยความเป็นทุกข์ จึงจะละสักกายทิฐิได้
รู้ เห็นเสียงโดยความเป็นทุกข์ จึงจะละสักกายทิฐิได้
รู้ เห็นโสตวิญญาณ โดยความเป็นทุกข์ จึงจะละสักกายทิฐิได้
รู้ เห็นโสตสัมผัส โดยความเป็นทุกข์ จึงจะละสักกายทิฐิได้
รู้ เห็นแม้สุขเวทนา ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนาที่เกิดขึ้นเพราะโสตสัมผัส เป็นปัจจัย โดยความเป็นทุกข์ จึงจะละสักกายทิฐิได้
รู้ เห็น จมูก โดยความเป็นทุกข์ จึงจะละสักกายทิฐิได้
รู้เห็นกลิ่น โดยความเป็นทุกข์ จึงจะละสักกายทิฐิได้
รู้ เห็นฆานวิญญาณ โดยความเป็นทุกข์ จึงจะละสักกายทิฐิได้
รู้ เห็นฆานสัมผัส โดยความเป็นทุกข์ จึงจะละสักกายทิฐิได้
รู้ เห็นแม้สุขเวทนา ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนาที่เกิดขึ้นเพราะฆานสัมผัสเป็นปัจจัย โดยความเป็นทุกข์ จึงจะละสักกายทิฐิได้
รู้ เห็นลิ้น โดยความเป็นทุกข์ จึงจะละสักกายทิฐิได้
รู้ เห็นรส โดยความเป็นทุกข์ จึงจะละสักกายทิฐิได้
รู้ เห็นชิวหาวิญญาณ โดยความเป็นทุกข์ จึงจะละสักกายทิฐิได้
รู้ เห็นชิวหาสัมผัส โดยความเป็นทุกข์ จึงจะละสักกายทิฐิได้
รู้ เห็นแม้สุขเวทนา ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนาที่เกิดขึ้นเพราะชิวหาสัมผัสเป็นปัจจัย โดยความเป็นทุกข์ จึงจะละสักกายทิฐิได้
รู้ เห็นกาย โดยความเป็นทุกข์ จึงจะละสักกายทิฐิได้
รู้ เห็นสัมผัส โดยความเป็นทุกข์ จึงจะละสักกายทิฐิได้
รู้ เห็นกายวิญญาณ โดยความเป็นทุกข์ จึงจะละสักกายทิฐิได้
รู้ เห็นกายสัมผัส โดยความเป็นทุกข์ จึงจะละสักกายทิฐิได้
รู้ เห็นแม้สุขเวทนา ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนาที่เกิดขึ้นเพราะกายสัมผัสเป็นปัจจัย โดยความเป็นทุกข์ จึงจะละสักกายทิฐิได้
รู้ เห็นใจ โดยความเป็นทุกข์ จึงจะละสักกายทิฐิได้
รู้ เห็นธรรมารมณ์ โดยความเป็นทุกข์ จึงจะละสักกายทิฐิได้
รู้ เห็นมโนวิญญาณ โดยความเป็นทุกข์ จึงจะละสักกายทิฐิได้
รู้ เห็นมโนสัมผัส โดยความเป็นทุกข์ จึงจะละสักกายทิฐิได้
รู้ เห็นแม้สุขเวทนา ทุกขเวทนา หรือ อทุกขมสุขเวทนาที่เกิดขึ้นเพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัย โดยความเป็นทุกข์ จึงจะละสักกายทิฐิได้
เมื่อบุคคลรู้อยู่อย่างนี้ เห็นอยู่อย่างนี้ จึงจะละสักกายทิฐิได้
อ้างอิง:
(๒) มหานิทเทส พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๒๙ ข้อที่ ๘๐๙ หน้า ๓๙๓
(๓) ทิฐิกถา ปฏิสัมภิทามรรค พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๓๑ ข้อที่ ๓๓๔ หน้า ๑๑๘-๑๑๙