(๑) อสังขตลักษณะของอสังขตธรรม ๓ ประการนี้ คือ
ไม่ปรากฏความเกิด ๑
ไม่ปรากฏความเสื่อม ๑
เมื่อตั้งอยู่ไม่ปรากฏความแปรปรวน ๑
(๒) ธรรมชาติไม่เกิดแล้ว ไม่เป็นแล้ว อันปัจจัยกระทำไม่ได้แล้ว ปรุงแต่งไม่ได้แล้ว มีอยู่
ถ้าธรรมชาติอันไม่เกิดแล้ว ไม่เป็นแล้ว อันปัจจัยกระทำไม่ได้แล้ว ปรุงแต่งไม่ได้แล้ว จักไม่ได้มีแล้วไซร้ การสลัดออกซึ่งธรรมชาติที่เกิดแล้วเป็นแล้ว อันปัจจัยกระทำแล้ว ปรุงแต่งแล้ว จะไม่พึงปรากฏในโลกนี้เลย
ก็เพราะธรรมชาติอันไม่เกิดแล้ว ไม่เป็นแล้ว อันปัจจัยกระทำไม่ได้แล้ว ปรุงแต่งไม่ได้แล้ว มีอยู่ ฉะนั้น การสลัดออกซึ่งธรรมชาติที่เกิดแล้ว เป็นแล้ว อันปัจจัยกระทำแล้ว ปรุงแต่งแล้ว จึงปรากฏ
(๓) ธาตุนี้มี ๒ อย่าง คือ สังขตธาตุ อสังขตธาตุ
(๔) ก็อสังขตะเป็นไฉน
ความสิ้นราคะ ความสิ้นโทสะ ความสิ้นโมหะ นี้เรียกว่าอสังขตะ
ทางที่จะให้ถึงอสังขตะเป็นไฉน
กายคตาสติ นี้เรียกว่าทางที่จะให้ถึงอสังขตะ
สมถะและวิปัสสนา นี้เรียกว่าทางที่จะให้ถึงอสังขตะ
สมาธิที่มีทั้งวิตกวิจาร สมาธิที่ไม่มีวิตก มีแต่วิจาร สมาธิที่ไม่มีทั้งวิตกวิจาร นี้เรียกว่าทางที่จะให้ถึงอสังขตะ
สุญญตสมาธิ นี้เรียกว่าทางที่จะให้ถึงอสังขตะ
อนิมิตตสมาธิ นี้เรียกว่าทางที่จะให้ถึงอสังขตะ
อัปปณิหิตสมาธิ นี้เรียกว่าทางที่จะให้ถึงอสังขตะ
สติปัฏฐาน ๔ นี้เรียกว่าทางที่จะให้ถึงอสังขตะ
สัมมัปปธาน ๔ นี้เรียกว่าทางที่จะให้ถึงอสังขตะ
อิทธิบาท ๔ นี้เรียกว่าทางที่จะให้ถึงอสังขตะ
อินทรีย์ ๕ นี้เรียกว่าทางที่จะให้ถึงอสังขตะ
พละ ๕ นี้เรียกว่าทางที่จะให้ถึงอสังขตะ
โพชฌงค์ ๗ นี้เรียกว่าทางที่จะให้ถึงอสังขตะ
อริยมรรค ประกอบด้วยองค์ ๘ นี้เรียกว่าทางที่จะให้ถึงอสังขตะ
อสังขตะ สภาวธรรม
(๕) อสังขตธาตุ สภาวธรรมนี้ชื่อว่า ธรรมเป็นอัพยากฤต ธรรมไม่เศร้าหมอง และไม่เป็นอารมณ์ของสังกิเลส
(๖) อสังขตธาตุ สภาวธรรมนี้ชื่อว่า ธรรมไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร ไม่มีปีติ ไม่สหรคตด้วยปีติ ไม่สหรคตด้วยสุขเวทนา ไม่สหรคตด้วยอุเบกขาเวทนา
(๗) อสังขตธาตุ สภาวธรรมนี้ชื่อว่า ธรรมไม่เป็นเหตุ ธรรมไม่มีเหตุ ธรรมวิปปยุตจากเหตุ ธรรมไม่เป็นเหตุและไม่มีเหตุ
(๘) อสังขตธาตุ สภาวธรรมนี้ชื่อว่า ธรรมไม่มีปัจจัย
ธรรมที่ไม่มีปัจจัยนั้นอันใด ธรรมนั้นนั่นแหละชื่อว่า ธรรมเป็นอสังขตะ
อสังขตธาตุ สภาวธรรมนี้ชื่อว่า ธรรมที่เห็นไม่ได้ กระทบไม่ได้ ไม่เป็นรูป เป็นโลกุตตระ
อสังขตธาตุ สภาวธรรมนี้ชื่อว่า ธรรมเป็นเหตุให้ไม่จุติปฏิสนธิและเป็นเหตุให้ถึงนิพพาน
อสังขตธาตุ สภาวธรรมนี้ชื่อว่า ธรรมเป็นอัปปมาณะ (ธรรมคือจิตและเจตสิกเหล่าใดปรารภอัปปมาณธรรมเกิดขึ้น สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าธรรมมีอารมณ์เป็นอัปปมาณะ (๑๘) มรรค ๔ ที่เป็นโลกุตตระ สามัญญผล ๔ และนิพพาน สภาวธรรมเหล่านี้ ชื่อว่าธรรมเป็นอัปปมาณะ)
อสังขตธาตุ สภาวธรรมนี้ชื่อว่าธรรมประณีต
อสังขตธาตุ สภาวธรรมนี้ชื่อว่า ธรรมที่เห็นไม่ได้และกระทบไม่ได้
(๙) อสังขตธาตุ สภาวธรรมนี้ชื่อว่า
ธรรมวิปปยุตจากอาสวะ
และไม่เป็นอารมณ์ของอาสวะ
(๑๐) อสังขตธาตุ สภาวธรรมนี้ชื่อว่า
ธรรมไม่เป็นสัญโญชน์
ธรรมไม่เป็นอารมณ์ของสัญโญชน์
ธรรมวิปปยุตจากสัญโญชน์
ธรรมวิปปยุตจากสัญโญชน์และไม่เป็นอารมณ์ของสัญโญชน์
(๑๑) อสังขตธาตุ สภาวธรรมนี้ชื่อว่า
ธรรมไม่เป็นอารมณ์ของ คันถะ
ธรรมวิปปยุตจากคันถะ
ธรรมวิปปยุตจากคันถะและไม่เป็นอารมณ์ของคันถะ
(๑๒) อสังขตธาตุ สภาวธรรมนี้ชื่อว่า
ธรรมไม่เป็นนิวรณ์
ธรรมไม่เป็นอารมณ์ของนิวรณ์
ธรรมวิปปยุตจากนิวรณ์
ธรรมวิปปยุตจากนิวรณ์และไม่เป็นอารมณ์ของนิวรณ์
(๑๓) อสังขตธาตุ สภาวธรรมนี้ชื่อว่า
ธรรมไม่เป็นปรามาสะ
ธรรมไม่เป็นอารมณ์ของปรามาสะ
ธรรมวิปปยุตจากปรามาสะ
ธรรมวิปปยุตจากปรามาสะและไม่เป็นอารมณ์ของปรามาสะ
(๑๔) อสังขตธาตุ สภาวธรรมนี้ชื่อว่า
ธรรมไม่มีอารมณ์
ธรรมไม่เป็นจิต
ธรรมไม่เป็นเจตสิก
ธรรมวิปยุตจากจิต
ธรรมไม่เจือกับจิต
ธรรมไม่มีจิตเป็นสมุฏฐาน
ธรรมไม่เกิดร่วมกับจิต
ธรรมไม่เกิดคล้อยตามจิต
ธรรมไม่เจือกับจิตและไม่มีจิตเป็นสมุฏฐาน
ธรรมไม่เจือกับจิต ไม่มีจิตเป็นสมุฏฐาน และไม่เกิดร่วมกับจิต
ธรรมไม่เจือกับจิต ไม่มีจิตเป็นสมุฏฐาน และไม่เกิดคล้อยตามจิต
ธรรมไม่อาศัยมหาภูตรูปเกิด
ธรรมอันเจตนากรรมที่สัมปยุตด้วยตัณหาทิฏฐิไม่เข้ายึดครอง
(๑๕) อสังขตธาตุ สภาวธรรมนี้ชื่อว่า
ธรรมไม่เป็นอุปาทาน
ธรรมไม่เป็นอารมณ์ของอุปาทาน
ธรรมวิปปยุตจากอุปาทาน
ธรรมวิปปยุตจากอุปาทานและไม่เป็นอารมณ์ของอุปาทาน
(๑๖) อสังขตธาตุ สภาวธรรมนี้ชื่อว่า
ธรรมไม่เป็นกิเลส
ธรรมไม่เป็นอารมณ์ของสังกิเลส
ธรรมไม่เศร้าหมอง
ธรรมวิปปยุตจากกิเลส
ธรรมวิปปยุตจากกิเลสและไม่เป็นอารมณ์ของสังกิเลส
(๑๗) อสังขตธาตุ สภาวธรรมนี้ ชื่อว่าธรรมไม่เกิดกับกิเลส
อสังขตธาตุ สภาวธรรมนี้ชื่อว่า ธรรมเป็นอปริยาปันนะ (กุศลธรรม อกุศลธรรม อัพยากตธรรม ประเภทที่ยังมีอาสวะซึ่งเป็นกามาวจร รูปาวจร อรูปาวจร คือ รูปขันธ์ ฯลฯ วิญญาณขันธ์ สภาวธรรมเหล่านี้ ชื่อว่า ธรรมเป็นปริยาปันนะ)
อสังขตธาตุ สภาวธรรมนี้ชื่อว่า อนิยยานิกธรรม (มรรค ๔ ที่เป็นโลกุตตระ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นนิยยานิกะ)
อสังขตธาตุ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมไม่มีธรรมอื่นยิ่งกว่า
(๑๘) อัตถุทธารกัณท์ พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๓๔ ข้อที่ ๘๘๙ หน้า ๓๐๗