Main navigation
อุปกิเลส
Share:

(๑)  อุปกิเลส คือ ธรรมเครื่องเศร้าหมองของจิต ๑๖ ประการ  ได้แก่

  ๑.  อภิชฌาวิสมโลภะ  [ละโมบไม่สม่ำเสมอ คือความเพ่งเล็ง]

  ๒.  พยาบาท  [ปองร้ายเขา]

  ๓.  โกธะ  [โกรธ]

  ๔.  อุปนาหะ  [ผูกโกรธไว้]

  ๕.  มักขะ  [ลบหลู่คุณท่าน]

  ๖.  ปลาสะ  [ยกตนเทียบเท่า]

  ๗.  อิสสา  [ริษยา]

  ๘.  มัจฉริยะ  [ตระหนี่]

  ๙.  มายา  [มารยา]

  ๑๐.สาเฐยยะ  [โอ้อวด]

  ๑๑.ถัมภะ  [หัวดื้อ]

  ๑๒.สารัมภะ  [แข่งดี]

  ๑๓.มานะ  [ถือตัว]

  ๑๔.อติมานะ  [ดูหมิ่นท่าน]

  ๑๕.มทะ  [มัวเมา]

  ๑๖.ปมาทะ  [ประมาท]

ภิกษุนั้นรู้ชัดว่า อุปกิเลส ๑๖ เป็นธรรมเครื่องเศร้าหมองของจิตแล้ว ย่อมละธรรมเครื่องเศร้าหมองของจิตเสีย  เมื่อภิกษุละอุปกิเลส ๑๖ ได้ ในกาลนั้น ภิกษุเป็นผู้กระกอบด้วยความเลื่อมใสอันแน่วแน่ในพระพุทธเจ้า พระธรรม พระอริยสงฆ์

ก็เพราะเหตุที่ส่วนแห่งกิเลสนั้นๆ อันภิกษุนั้นสละได้แล้ว คายแล้ว ปล่อยแล้ว ละเสียแล้ว สละคืนแล้ว เธอย่อมได้ความรู้แจ้งอรรถ ย่อมได้ความรู้แจ้งธรรม ย่อมได้ปราโมทย์อันประกอบด้วยธรรมว่า เราเป็นผู้ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันแน่วแน่ในพระพุทธเจ้า ในพระธรรม ในพระสงฆ์ เมื่อปราโมทย์แล้ว ย่อมเกิดปีติ เมื่อมีปีติในใจ กายย่อมสงบ เธอมีกายสงบแล้ว ย่อมได้เสวยสุข เมื่อมีสุข จิตย่อมตั้งมั่น


(๒) ความกำหนัดด้วยอำนาจความพอใจใน

-  อายตนภายใน คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ 
-  อายตนภายนอก คือ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ธรรมารมณ์ 
-  วิญญาณ คือ จักขุวิญญาณ โสตวิญญาณ ฆานวิญญาณ ชิวหาวิญญาณ กายวิญญาณ มโนวิญญาณ 
-  สัมผัส คือ จักขุสัมผัส โสตสัมผัส ฆานสัมผัส ชิวหาสัมผัส กายสัมผัส มโนสัมผัส 
-  เวทนา คือ จักขุสัมผัสสชาเวทนา โสตสัมผัสสชาเวทนา ฆานสัมผัสสชาเวทนา ฆานสัมผัสสชาเวทนา ชิวหาสัมผัสสชาเวทนา กายสัมผัสสชาเวทนา มโนสัมผัสสชาเวทนา 
-  สัญญา คือ รูปสัญญา สัททสัญญา คันธสัญญา รสสัญญา โผฏฐัพพสัญญา ธรรมสัญญา
-  เจตนา คือ รูปสัญเจตนา สัททสัญเจตนา คันธสัญเจตนา รสสัญเจตนา โผฏฐัพพสัญเจตนา ธรรมสัญเจตนา
-  ตัณหา คือ รูปตัณหา สัททตัณหา คันธตัณหา รสตัณหา โผฏฐัพพตัณหา ธรรมตัณหา
-  ธาตุ คือ ปฐวีธาตุ อาโปธาตุ เตโชธาตุ วาโยธาตุ อากาสธาตุ วิญญาณธาตุ
-  ขันธ์ ๕ คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ

ความกำหนัดด้วยความพอใจในธรรมเหล่านี้ คือ อุปกิเลสของจิต  เมื่อใดภิกษุละอุปกิเลสในฐานะ ๖ นี้ได้ เมื่อนั้น จิตของเธอย่อมเป็นจิตน้อมไปในเนกขัมมะ อันเนกขัมมะอบรมแล้ว ควรแก่การงาน ปรากฏในธรรมที่พึงทำให้แจ้งด้วยอภิญญา
 

อ้างอิง:  
(๑)  วัตถูปมสูตร พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๒ ข้อที่ ๙๓-๗๔ หน้า ๔๘-๔๙
(๒)  กิเลสสังยุต พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๗ ข้อที่ ๔๙๙-๕๐๘ หน้า ๒๕๘-๒๖๒

 

 

คำต่อไป