ทิฐิอันถือเอาที่สุดว่า โลกเที่ยง ทิฐิถือเอาที่สุดเช่นนั้น จึงชื่อว่า อันตคาหิกทิฐิ
ทิฐิอันถือเอาที่สุดว่า โลกไม่เที่ยง ทิฐิถือเอาที่สุดเช่นนั้น จึงชื่อว่า อันตคาหิกทิฐิ
ทิฐิอันถือเอาที่สุดว่า โลกมีที่สุด ทิฐิถือเอาที่สุดเช่นนั้น จึงชื่อว่า อันตคาหิกทิฐิ
ทิฐิอันถือเอาที่สุดว่า โลกไม่มีที่สุด ทิฐิถือเอาที่สุดเช่นนั้น จึงชื่อว่า อันตคาหิกทิฐิ
ทิฐิอันถือเอาที่สุดว่า ชีพอันนั้น สรีระก็อันนั้น ทิฐิถือเอาที่สุดเช่นนั้น จึงชื่อว่า อันตคาหิกทิฐิ
ทิฐิอันถือเอาที่สุดว่า ชีพเป็นอื่น สรีระก็เป็นอื่น ทิฐิถือเอาที่สุดเช่นนั้น จึงชื่อว่า อันตคาหิกทิฐิ
ทิฐิอันถือเอาที่สุดว่า สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้วย่อมเป็นอีก ทิฐิถือเอาที่สุดเช่นนั้น จึงชื่อว่า อันตคาหิกทิฐิ
ทิฐิอันถือเอาที่สุดว่า สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้วย่อมไม่เป็นอีก ทิฐิถือเอาที่สุดเช่นนั้น จึงชื่อว่า อันตคาหิกทิฐิ
ทิฐิอันถือเอาที่สุดว่า สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้วย่อมเป็นอีกก็มี ย่อมไม่เป็นอีกก็มี ทิฐิถือเอาที่สุดเช่นนั้น จึงชื่อว่า อันตคาหิกทิฐิ
ทิฐิอันถือเอาที่สุดว่า สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้วย่อมเป็นอีกก็ หามิได้ ย่อมไม่เป็นอีกก็หามิได้ ทิฐิถือเอาที่สุดเช่นนั้น จึงชื่อว่า อันตคาหิกทิฐิ
อันตคาหิกทิฐิเป็นมิจฉาทิฐิ
(๒) อันตคาหิกทิฏฐิมีวัตถุ ๑๐ คือ
๑. ความเห็นว่า โลกเที่ยง
๒. ความเห็นว่า โลกไม่เที่ยง
๓. ความเห็นว่า โลกมีที่สุด
๔. ความเห็นว่า โลกไม่มีที่สุด
๕. ความเห็นว่า ชีพก็อันนั้น สรีระก็อันนั้น
๖. ความเห็นว่า ชีพเป็นอื่น สรีระก็เป็นอื่น
๗. ความเห็นว่า สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้วย่อมเกิดอีก
๘. ความเห็นว่า สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้วย่อมไม่เกิดอีก
๙. ความเห็นว่า สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้วย่อมเกิดอีกก็มี ย่อมไม่เกิดอีกก็มี
๑๐. ความเห็นว่า สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้ว ย่อมเกิดอีกก็หามิได้ ย่อมไม่เกิดอีกก็หามิได้
นี้เรียกว่า อันตคาหิกทิฏฐิมีวัตถุ ๑๐
(๑) ทิฐิ คือ ความลูบคลำด้วยความถือผิด อันตคาหิกทิฐิมีความถือผิดด้วยอาการ ๕๐
ทิฐิอันถือเอาที่สุดว่า โลกเที่ยง ถือผิดด้วยอาการ ๕ เหล่านี้ คือ
ความลูบคลำด้วยความถือผิดว่า
รูป เป็นโลกและเป็นของเที่ยง
เวทนา เป็นโลกและเป็นของเที่ยง
สัญญา เป็นโลกและเป็นของเที่ยง
สังขาร เป็นโลกและเป็นของเที่ยง
วิญญาณ เป็นโลกและเป็นของเที่ยง
ทิฐิอันถือเอาที่สุดว่า โลกไม่เที่ยง ถือผิดด้วยอาการ ๕ คือ
ความลูบคลำด้วยความถือผิดว่า
รูป เป็นโลกและเป็นของไม่เที่ยง
เวทนา เป็นโลกและเป็นของไม่เที่ยง
สัญญา เป็นโลกและเป็นของไม่เที่ยง
สังขาร เป็นโลกและเป็นของไม่เที่ยง
วิญญาณ เป็นโลกและเป็นของไม่เที่ยง
ทิฐิอันถือเอาที่สุดว่า โลกมีที่สุด ถือผิดด้วยอาการ ๕ คือ
บุคคลบางคนในโลกนี้ ทำสีเขียว แผ่ไปสู่โอกาสนิดหน่อย เขามีความเห็นอย่างนี้ว่าโลกนี้มีที่สุด กลม เขาจึงมีความสำคัญว่าโลกมีที่สุด ทิฐิ คือความลูบคลำด้วยความถือผิดว่า ที่ที่แผ่ไปนั้นเป็นวัตถุและเป็นโลก เครื่องที่แผ่ไปนั้นเป็นตนและเป็นโลก
บุคคลบางคนในโลกนี้ ทำสีเหลือง แผ่ไปสู่โอกาสนิดหน่อย เขามีความเห็นอย่างนี้ว่าโลกนี้มีที่สุด กลม เขาจึงมีความสำคัญว่าโลกมีที่สุด ทิฐิ คือความลูบคลำด้วยความถือผิดว่า ที่ที่แผ่ไปนั้นเป็นวัตถุและเป็นโลก เครื่องที่แผ่ไปนั้นเป็นตนและเป็นโลก
บุคคลบางคนในโลกนี้ ทำสีแดง แผ่ไปสู่โอกาสนิดหน่อย เขามีความเห็นอย่างนี้ว่าโลกนี้มีที่สุด กลม เขาจึงมีความสำคัญว่าโลกมีที่สุด ทิฐิ คือความลูบคลำด้วยความถือผิดว่า ที่ที่แผ่ไปนั้นเป็นวัตถุและเป็นโลก เครื่องที่แผ่ไปนั้นเป็นตนและเป็นโลก
บุคคลบางคนในโลกนี้ ทำสีขาว แผ่ไปสู่โอกาสนิดหน่อย เขามีความเห็นอย่างนี้ว่าโลกนี้มีที่สุด กลม เขาจึงมีความสำคัญว่าโลกมีที่สุด ทิฐิ คือความลูบคลำด้วยความถือผิดว่า ที่ที่แผ่ไปนั้นเป็นวัตถุและเป็นโลก เครื่องที่แผ่ไปนั้นเป็นตนและเป็นโลก
บุคคลบางคนในโลกนี้ ทำแสงสว่าง แผ่ไปสู่โอกาสนิดหน่อย เขามีความเห็นอย่างนี้ว่าโลกนี้มีที่สุด กลม เขาจึงมีความสำคัญว่าโลกมีที่สุด ทิฐิ คือความลูบคลำด้วยความถือผิดว่า ที่ที่แผ่ไปนั้นเป็นวัตถุและเป็นโลก เครื่องที่แผ่ไปนั้นเป็นตนและเป็นโลก
ทิฐิอันถือเอาที่สุดว่า โลกไม่มีที่สุด ถือผิดด้วยอาการ ๕ คือ
บุคคลบางคนในโลกนี้ ทำสีเขียว แผ่ไปสู่โอกาสอันกว้าง เขามีความเห็นอย่างนี้ว่า โลกนี้ไม่มีที่สุด หาที่สุดมิได้ ดังนี้ จึงมีความสำคัญว่าโลกไม่มีที่สุด ทิฐิ คือ ความลูบคลำด้วยความถือผิดว่า ที่ที่แผ่ไปนั้นเป็นวัตถุและเป็นโลก เครื่องที่แผ่ไปนั้นเป็นตนและเป็นโลก ทิฐินั้นถือเอาที่สุดเช่นนั้น
บุคคลบางคนในโลกนี้ ทำสีเหลือง แผ่ไปสู่โอกาสอันกว้าง เขามีความเห็นอย่างนี้ว่า โลกนี้ไม่มีที่สุด หาที่สุดมิได้ ดังนี้ จึงมีความสำคัญว่าโลกไม่มีที่สุด ทิฐิ คือ ความลูบคลำด้วยความถือผิดว่า ที่ที่แผ่ไปนั้นเป็นวัตถุและเป็นโลก เครื่องที่แผ่ไปนั้นเป็นตนและเป็นโลก ทิฐินั้นถือเอาที่สุดเช่นนั้น
บุคคลบางคนในโลกนี้ ทำสีแดง แผ่ไปสู่โอกาสอันกว้าง เขามีความเห็นอย่างนี้ว่า โลกนี้ไม่มีที่สุด หาที่สุดมิได้ ดังนี้ จึงมีความสำคัญว่าโลกไม่มีที่สุด ทิฐิ คือ ความลูบคลำด้วยความถือผิดว่า ที่ที่แผ่ไปนั้นเป็นวัตถุและเป็นโลก เครื่องที่แผ่ไปนั้นเป็นตนและเป็นโลก ทิฐินั้นถือเอาที่สุดเช่นนั้น
บุคคลบางคนในโลกนี้ ทำสีขาว แผ่ไปสู่โอกาสอันกว้าง เขามีความเห็นอย่างนี้ว่า โลกนี้ไม่มีที่สุด หาที่สุดมิได้ ดังนี้ จึงมีความสำคัญว่าโลกไม่มีที่สุด ทิฐิ คือ ความลูบคลำด้วยความถือผิดว่า ที่ที่แผ่ไปนั้นเป็นวัตถุและเป็นโลก เครื่องที่แผ่ไปนั้นเป็นตนและเป็นโลก ทิฐินั้นถือเอาที่สุดเช่นนั้น
บุคคลบางคนในโลกนี้ ทำแสงสว่าง แผ่ไปสู่โอกาสอันกว้าง เขามีความเห็นอย่างนี้ว่า โลกนี้ไม่มีที่สุด หาที่สุดมิได้ ดังนี้ จึงมีความสำคัญว่าโลกไม่มีที่สุด ทิฐิ คือ ความลูบคลำด้วยความถือผิดว่า ที่ที่แผ่ไปนั้นเป็นวัตถุและเป็นโลก เครื่องที่แผ่ไปนั้นเป็นตนและเป็นโลก ทิฐินั้นถือเอาที่สุดเช่นนั้น
ทิฐิอันถือเอาที่สุดว่า ชีพอันนั้น สรีระก็อันนั้น ถือผิดด้วยอาการ ๕ คือ
ความลูบคลำด้วยความถือผิดว่า
รูปเป็นชีพและสรีระ ชีพอันใดสรีระก็อันนั้น
เวทนาเป็นชีพและสรีระ ชีพอันใดสรีระก็อันนั้น
สัญญาเป็นชีพและสรีระ ชีพอันใดสรีระก็อันนั้น
สังขารเป็นชีพและสรีระ ชีพอันใดสรีระก็อันนั้น
วิญญาณเป็นชีพและสรีระ ชีพอันใดสรีระก็อันนั้น
ทิฐิอันถือเอาที่สุดว่า ชีพเป็นอย่างหนึ่ง สรีระเป็นอย่างหนึ่ง ถือผิดด้วยอาการ ๕ คือ
ความลูบคลำด้วยความถือผิดว่า
รูปเป็นสรีระ ไม่ใช่ชีพ รูปนั้นเป็นสรีระ
ชีพเป็นอย่างหนึ่ง สรีระเป็นอย่างหนึ่ง
เวทนาเป็นสรีระ ไม่ใช่ชีพ เวทนานั้นเป็นสรีระ
ชีพเป็นอย่างหนึ่ง สรีระเป็นอย่างหนึ่ง
สัญญาเป็นสรีระ ไม่ใช่ชีพ สัญญานั้นเป็นสรีระ
ชีพเป็นอย่างหนึ่ง สรีระเป็นอย่างหนึ่ง
สังขารเป็นสรีระ ไม่ใช่ชีพ สังขารนั้นเป็นสรีระ
ชีพเป็นอย่างหนึ่ง สรีระเป็นอย่างหนึ่ง
วิญญาณเป็นสรีระ ไม่ใช่ชีพ วิญญาณนั้นเป็นสรีระ
ชีพเป็นอย่างหนึ่ง สรีระเป็นอย่างหนึ่ง
ทิฐิอันถือเอาที่สุดว่า สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้วย่อมเป็นอีก ถือผิดด้วยอาการ ๕ คือ
ความลูบคลำด้วยความถือผิดว่า
รูปต้องตายเป็นธรรมดาในโลกนี้แหละ สัตว์แต่กายแตกแล้ว ย่อมเป็นอีกบ้าง คงอยู่บ้าง อุบัติขึ้นบ้าง เกิดบ้าง
เวทนาต้องตายเป็นธรรมดาในโลกนี้แหละ สัตว์แต่กายแตกแล้ว ย่อมเป็นอีกบ้าง คงอยู่บ้าง อุบัติขึ้นบ้าง เกิดบ้าง
สัญญาต้องตายเป็นธรรมดาในโลกนี้แหละ สัตว์แต่กายแตกแล้ว ย่อมเป็นอีกบ้าง คงอยู่บ้าง อุบัติขึ้นบ้าง เกิดบ้าง
สังขารต้องตายเป็นธรรมดาในโลกนี้แหละ สัตว์แต่กายแตกแล้ว ย่อมเป็นอีกบ้าง คงอยู่บ้าง อุบัติขึ้นบ้าง เกิดบ้าง
วิญญาณต้องตายเป็นธรรมดาในโลกนี้แหละ สัตว์แต่กายแตกแล้ว ย่อมเป็นอีกบ้าง คงอยู่บ้าง อุบัติขึ้นบ้าง เกิดบ้าง
ทิฐิอันถือเอาที่สุดว่า สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้วย่อมไม่เป็นอีก ถือผิดด้วยอาการ ๕ คือ
ความลูบคลำด้วยความถือผิดว่า
รูปต้องตายเป็นธรรมดาในโลกนี้แหละ สัตว์แต่กายแตกแล้วย่อมขาดสูญ ย่อมพินาศไป สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้วย่อมไม่เป็นอีก
เวทนาต้องตายเป็นธรรมดาในโลกนี้แหละ สัตว์แต่กายแตกแล้วย่อมขาดสูญ ย่อมพินาศไป สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้วย่อมไม่เป็นอีก
สัญญาต้องตายเป็นธรรมดาในโลกนี้แหละ สัตว์แต่กายแตกแล้วย่อมขาดสูญ ย่อมพินาศไป สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้วย่อมไม่เป็นอีก
สังขารต้องตายเป็นธรรมดาในโลกนี้แหละ สัตว์แต่กายแตกแล้วย่อมขาดสูญ ย่อมพินาศไป สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้วย่อมไม่เป็นอีก
วิญญาณต้องตายเป็นธรรมดาในโลกนี้แหละ สัตว์แต่กายแตกแล้วย่อมขาดสูญ ย่อมพินาศไป สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้วย่อมไม่เป็นอีก
ทิฐิอันถือเอาที่สุดว่า สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้วย่อมเป็นอีกก็มี ย่อมไม่เป็นอีกก็มี ถือผิดด้วยอาการ ๕ คือ
ความลูบคลำด้วยความถือผิดว่า
รูปต้องตายเป็นธรรมดาในโลกนี้แหละ สัตว์แต่กายแตกแล้วย่อมเป็นอีกก็มี ย่อมไม่เป็นอีกก็มี
เวทนาต้องตายเป็นธรรมดาในโลกนี้แหละ สัตว์แต่กายแตกแล้วย่อมเป็นอีกก็มี ย่อมไม่เป็นอีกก็มี
สัญญาต้องตายเป็นธรรมดาในโลกนี้แหละ สัตว์แต่กายแตกแล้วย่อมเป็นอีกก็มี ย่อมไม่เป็นอีกก็มี
สังขารต้องตายเป็นธรรมดาในโลกนี้แหละ สัตว์แต่กายแตกแล้วย่อมเป็นอีกก็มี ย่อมไม่เป็นอีกก็มี
วิญญาณต้องตายเป็นธรรมดาในโลกนี้แหละ สัตว์แต่กาย แตกแล้วย่อมเป็นอีกก็มี ย่อมไม่เป็นอีกก็มี
ทิฐิอันถือเอาที่สุดว่า สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้วย่อมเป็นอีกก็หามิได้ ย่อมไม่เป็นอีกก็หามิได้ ถือผิดด้วยอาการ ๕ คือ
ความลูบคลำด้วยความถือผิดว่า
รูปต้องตายเป็นธรรมดาในโลกนี้แหละ สัตว์แต่กายแตกแล้วย่อมเป็นอีกก็หามิได้ ย่อมไม่เป็นอีกก็หามิได้
เวทนาต้องตายเป็นธรรมดาในโลกนี้แหละ สัตว์แต่กายแตกแล้วย่อมเป็นอีกก็หามิได้ ย่อมไม่เป็นอีกก็หามิได้
สัญญาต้องตายเป็นธรรมดาในโลกนี้แหละ สัตว์แต่กายแตกแล้วย่อมเป็นอีกก็หามิได้ ย่อมไม่เป็นอีกก็หามิได้
สังขารต้องตายเป็นธรรมดาในโลกนี้แหละ สัตว์แต่กายแตกแล้วย่อมเป็นอีกก็หามิได้ ย่อมไม่เป็นอีกก็หามิได้
วิญญาณต้องตายเป็นธรรมดาในโลกนี้แหละ สัตว์แต่กายแตกแล้วย่อมเป็นอีกก็หามิได้ ย่อมไม่เป็นอีกก็หามิได้
อันตคาหิกทิฐิย่อมถือผิดด้วยอาการ ๕๐ เหล่านี้
(๓) เมื่อยังมีอันตคาหิกทิฐิ ก็ยังมีชาติ ชรา มรณะ
เมื่อยังมีทิฏฐิว่า
โลกเที่ยง หรือว่า โลกไม่เที่ยง
โลกมีที่สุด หรือว่า โลกไม่มีที่สุด
ชีพอันนั้น สรีระก็อันนั้น หรือว่า ชีพอย่างหนึ่ง สรีระอย่างหนึ่ง
สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายไปมีอยู่ หรือว่า สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายไปไม่มีอยู่
สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายไปมีอยู่ก็มี ไม่มีอยู่ก็มี หรือว่า สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายไป มีอยู่ก็หามิได้ ไม่มีอยู่ ก็หามิได้
ชาติ ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาส ก็คงมีอยู่ทีเดียว
พระผู้มีพระภาคทรงไม่พยากรณ์ปัญหาเนื่องด้วยอันตคาหิกทิฐิ
ทิฏฐิว่า โลกเที่ยง โลกไม่เที่ยง โลกมีที่สุด โลกไม่มีที่สุด ชีพอันนั้น สรีระก็อันนั้น ชีพอย่างหนึ่ง สรีระอย่างหนึ่ง สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายไปมีอยู่ สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายไปไม่มีอยู่ สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายไปมีอยู่ก็มี ไม่มีอยู่ก็มี สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายไป มีอยู่ก็หามิได้ ไม่มีอยู่ ก็หามิได้ ดังนี้ ทรงไม่พยากรณ์
เพราะข้อนั้นไม่ประกอบด้วยประโยชน์ ไม่เป็นเบื้องต้นแห่งพรหมจรรย์ ไม่เป็นไปเพื่อความหน่าย เพื่อความคลายกำหนัด เพื่อความดับ เพื่อความสงบ เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความตรัสรู้ เพื่อนิพพาน
อ้างอิง :
(๑) ทิฐิกถา ปฏิสัมภิทามรรค พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๓๑ ข้อที่ ๓๓๗-๓๔๗ หน้า ๑๒๐-๑๒๔
(๒) ทสกนิเทศ พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๓๕ ข้อที่ ๑๐๓๑ หน้า ๔๘๔
(๓) จูฬมาลุงโกฺยวาทสูตร พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๓ ข้อที่ ๑๕๒ หน้า ๑๒๒